Category คมคิด ผู้นำ และนักบริหารยุค Digital

O2O – Online To Offline / Offline To Online

สำหรับคนที่อยู่ในวงการการตลาด คงจะเคยได้ยินคำว่า O2O มาซักพักแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินคำนี้ ตอนนี้ มันกำลังจะมีนิยามใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก

นิยามเก่า O2O – Online To Offline หรือ จากออนไลน์สู่ออฟไลน์

อาลีบาบา (Alibaba) ในจีน

  • นำร่องร้านสะดวกซื้อไฮเทค Alibaba เปิดทดลองร้าน Tao Café ที่เมืองหางโจว (คล้ายกับร้าน Amazon Go ในสหรัฐฯ) โดยเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่ใช้พนักงาน เพียงแต่สแกนบาร์โค้ดใน App ของ Taobao ตรงทางเข้า สามารถเดินเลือกซื้อของได้ตามสะดวก หยิบของที่ต้องการครบแล้วก็เดินออกจากร้านได้เลย ส่วนเงินก็จะหักจาก App ในมือถือโดยอัตโนมัติ

FROM MADE IN CHINA TO SELLING IN CHINA: THE INNOVATIONS THAT TRANSFORMED CHINA INTO THE PLATFORM FOR ECOMMERCE – NextUnicorn

  • พลิกโฉมห้างสรรพสินค้า Alibaba สร้างห้างสรรพสินค้าชื่อ More Mall ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่ 40,000 ตร.ม. ที่เมืองหางโจว  ห้างสรรพสินค้า More Mall สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลผู้บริโภคมหาศาลของ Alibaba ทำให้รู้ว่าสินค้าออนไลน์ใดที่ได้รับความนิยม เพื่อเลือกนำมาจัดเป็นโชว์รูมให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง และได้ลองสินค้า ส่วนการสั่งซื้อและจ่ายเงินสามารถทำในโลกออนไลน์ นอกจากนั้น มีข่าวว่า Alibaba จะนำเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งใหม่ๆ เช่น ห้องลองเสื้อเสมือนจริงที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Reality

อะมาซอน (Amazon) ในสหรัฐอเมริกา

  • พลิกโฉมซูเปอร์มาร์เก็ต Amazon อเมริกา (ที่ไม่ใช่คาเฟ่อะเมซอนที่คนไทยรู้จักดี) ได้เข้าซื้อกิจการ Whole Foods Market เชนซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าสูงถึง 13,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ Amazon ได้พัฒนาธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการร้าน และเชื่อมต่อการให้บริการออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน แนวทางหนึ่งคือการพัฒนาบริการ Amazon Fresh บริการสั่งซื้อสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตและอาหารสดออนไลน์ ในอนาคต Amazon Fresh สามารถใช้ Whole Foods Market ที่มีสาขาทั้วประเทศ 466 แห่ง เป็นจุดที่ลูกค้ามารับสินค้าที่สั่งออนไลน์ รวมทั้งเป็นจุดกระจายสินค้าเพื่อจัดส่งสินค้าไปยังที่พักอาศัยของลูกค้าได้อีกด้วย
  • พลิกโฉมร้านหนังสือ ปัจจุบัน Amazon ได้เปิดตัวร้านหนังสือไปแล้ว 15 สาขา หนังสือที่อยู่ในร้านทั้งหมดจะต้องได้รีวิวเฉลี่ย 4 ดาวขึ้นไปในเว็บ Amazon นอกจากนั้น ยังนำข้อมูลลูกค้าออนไลน์ของ Amazon มาใช้จัดโซนหนังสือ เช่น “หนังสือที่ผู้อ่าน Kindle อ่านจบในสามวัน” หรือ “ถ้าคุณชอบเล่มนั้น คุณจะชอบเล่มนี้” เป็นต้น ลูกค้าที่เป็นสมาชิก Amazon ยังสามารถใช้ App สแกนหนังสือเพื่อดูว่าจะได้ส่วนลดเท่าไรIT: เปิดตัว Amazon Go ร้านสะดวกซื้อไร้แคชเชียร์ไม่ต้องต่อคิวจ่ายเงิน! (คลิป)
  • นำร่องร้านสะดวกซื้อไฮเทค เช่นเดียวกับร้าน Tao Café ของ Alibaba ที่จีน Amazon ได้เปิดตัวร้าน สะดวกซื้อไฮเทคชื่อ Amazon Go ขึ้นที่เมืองซีแอตเทิล ลูกค้าสามารถสแกนสินค้าผ่าน App เมื่อหยิบของที่ต้องการครบแล้ว ก็เดินออกจากร้านได้เลย ส่วนเงินก็จะหักจาก App ในมือถือโดยอัตโนมัติ

นิยามใหม่ O2O – Offline To Online หรือ จากออฟไลน์สู่ออนไลน์

ช่วงที่ผ่านมาการค้าขายผ่านร้านค้าออฟไลน์ในทุกๆที่ ถูกผู้บริโภค Gen Y ซึ่งเกิดช่วงปี 2523-2543 เมิน เพราะไม่สามารถสู้ราคาและความสะดวกของอีคอมเมิร์ซได้ จนต้องพากันปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนคุณอาจจะมองว่าจุดจบของธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์มาถึงแล้ว แต่ตอนนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Gen Z กลับมาซื้อสินค้าผ่านตลาดออฟไลน์มากขึ้น ทำให้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อครองใจเหล่า Gen Z

       ที่ผมจะพูดการตลาดแบบนี้ก็เพราะ ชาว Gen Z มีพฤติกรรมที่ชอบหาข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์ แต่จะซื้อในแบบออฟไลน์มากกว่า เนื่องจากพวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก บวกกับพฤติกรรมของ Gen Z ที่ชอบการเดินห้างเป็นพิเศษ ทำให้ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าต่าง ๆ จะศึกษา และหาข้อมูลสิ่งที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตก่อน จนมั่นใจว่าสินค้า และบริการที่ตัดสินใจซื้อนั้นดีจริง อาจจะดูแบบไซซ์ไว้ก่อน แต่สุดท้ายก็ชอบที่จะไปลองด้วยตัวเองมากกว่า

และจากข้อมูลพบว่า Gen Z นิยมซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย จากช่องทางออฟไลน์ถึง 52% รวมทั้งในกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางถึง 70% ที่มีการซื้อผ่านออฟไลน์ พอจะเห็นไหมครับ ว่าห้างสรรพสินค้า ร้านของแบรนด์ต่างๆ ไปจนถึงตลาดนัดทั่วไป เป็นแหล่งที่นักช้อป Gen Z ไว้วางใจและไปจับจ่าย แต่ถึงอย่างนั้นการให้ข้อมูลหรือการโปรโมทสินค้าต่างๆ บนโลกออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ Gen Z เลือกที่จะหาข้อมูลและเชื่อก่อน ทั้งหมดนี้จึงทำให้เกิด การตลาดแบบ O2O ขึ้นนั่นเอง

O2O คือ

กลยุทธการตลาดแบบ O2O

   1.เชื่อมต่อทั้งสองช่องทางอย่างลงตัว 

แน่นอนที่สุดว่า การทำให้ช่องทางออฟไลน์กับออนไลน์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องสำคัญของการปรับใช้ โมเดลธุรกิจ O2O หากเน้นออฟไลน์มากเกินไป คนที่รู้จักเราจะอยู่ในวงแคบเท่านั้น แต่ถ้าหากเน้นออนไลน์มากเกินไปจนบางทีเราลืมให้ความสำคัญกับหน้าร้านหรือออฟไลน์ ความน่าเชื่อถือของเราก็จะลดน้อยลง ดังนั้น เราควรจะปรับให้ทั้งสองไปด้วยกันได้อย่างเหมาะสมแค่นี้ธุรกิจเราก็ปัง ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน

   2.หน้าร้านเป็นจุดสำคัญ 

อย่างที่บอกว่า O2O คือ การรวมกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ ดังนั้น    หน้าร้านจึงเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจให้กับลูกค้า และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ พนักงานร้านต้องคอยให้ข้อมูลแนะนำลูกค้าตลอดจนการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยอีกทางหนึ่ง

   3.สื่อโซเชียลและแพลตฟอร์มสร้างตัวตน

การสร้างตัวตนให้คนรู้จักเรามากขึ้นจากที่รู้จักในบางพื้นที่ก็จะรู้จักไปทุกพื้นที่ เราก็ต้องอาศัยสื่อโซเชียลในการเคลื่อนไหวเรื่องราวต่างๆ ที่เราอยากบอกต่อ แนะนำ หรือพูดคุยกับลูกค้า และอีกตัวสำคัญคือการสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มของตัวเองบนโลกออนไลน์ อาจจะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว เฟซบุ๊คแฟนเพจ หรือไลน์แอด ก็จะช่วยสร้างให้เรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

   4.SEO ช่วยค้นหา

SEO เป็นการทำการตลาดผ่านคีย์เวิร์ดที่จะช่วยให้ลูกค้าค้นหาเราได้ง่ายขึ้นจากการทำกิจกรรม หรือ การโปรโมทต่างๆ ผ่าน Google search เพราะอย่างที่ผมได้บอกไปว่ากลุ่ม Gen Z มักจะหาข้อมูลก่อนซื้อสินค้าอยู่ ทำให้ผมคิดว่า การทำให้เขาเห็นได้ง่ายๆก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเลย

   5. Virtual Online Festival

เมื่อใช้กลยุทธ์ O2O กับงานแสดงสินค้า หรือ นิทรรศการ ส่วนใหญ่ผู้จัดงานนิยมใช้ไลฟ์สตรีมมิ่ง (Live Streming) เป็นตัวช่วยหลัก เพราะลูกค้าจะได้เห็นสินค้าเสมือนอยู่ในงานจริง ๆ นอกจากนี้ ผู้จัดงานอาจใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ จัดแสดงสินค้าหรือบริการและเพิ่มช่องทางให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้น เช่น Art Basel ในฮ่องกงที่มี Online Viewing Room เป็นแกลเลอรี่เสมือนจริงรับชมผ่านระบบออนไลน์ ผู้ซื้อบัตรเข้าชมแกเลอรี่สามารถเลือกซื้องานศิลปะที่สนใจได้ผ่านเว็บไซต์ของงาน

Virtual Meeting Space (VMS) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดงาน รวมถึงเพิ่มทักษะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการไมซ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19

หรือยกตัวอย่างบริษัท นู สกิน (Nu Skin) ที่จัดกิจกรรม Virtual Expo หรือ เอ็กซ์โปเสมือนจริง ทั้งรูปแบบการจัดระดับนานาชาติ หรือในแต่ละประเทศที่ นู สกิน ไปเปิดสาขาอยู่ เช่นในประเทศไทยเป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ลดการรวมคน ซึ่งอาจเป็นโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อ Covid19 ของลูกค้า ตัวแทน และพนักงาน แต่ยังคงช่วยเพิ่ม brand awardness และกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี

Virtual EXPO

ดังนั้น สำหรับผมแล้ว O2O ในโลกยุคปัจจุบัน คือ การผสานกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์อย่างลงตัว ไม่มีธุรกิจออนไลน์ 100% หรือ ออฟไลน์ 100% ที่จะอยู่รอดในโลกปัจจุบันได้อีกแล้ว ทั้งสองกลยุทธนี้ ต้องไปด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม)

สนใจเข้าร่วมสัมมนา Digital Business Platform >> คลิ๊กที่นี่เพื่อลงทะเบียน

(เครดิต ที่มาข้อมูล : mice intelligence & innovation, egg digital, ktndevelop, marketingoops, the101, adsidea)

จิตวิทยาแห่งการการเชื่อมต่อผู้คน The Psychology of CONNECT with People

คำถาม 3 ข้อที่อยู่ในใจของผู้คน (คุณต้องระลึกไว้ในใจเสมอ ว่าฝ่าย่ตรงข้ามกำลังคิดแบบนี้กับคุณอยู่)
  1. คุณห่วงในฉันหรือเปล่า
  2. คุณช่วยเหลือฉันได้หรือเปล่า
  3. ฉันไว้วางใจคุณได้หรือเปล่า
องค์ประกอบ 3 ประการ ของการสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อ
  1. ความคิด –> ให้ความน่าเชื่อถือ
  2. ความรู้สึก –> ให้ความมีชีวิตชีวา
  3. การกระทำ –> ให้ความเชื่อมั่น
องค์ประกอบ 4 ประการ ของการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน
  1. สิ่งที่คนอื่นมองเห็น : ให้คนอื่นมองเห็นสิ่งที่น่าประทับใจ
    • กำจัดสิ่งที่ทำให้ตัวคุณดูไม่ดี
    • ถ่ายทอดความรู้สึกให้ได้หลายแบบ
    • เคลื่อนไหวอย่างมีเป้าหมาย
    • แสดงท่าทีเปิดเผยเสมอ
    • สนใจสภาพแวดล้อมรอบตัว
  1. สิ่งที่คนอื่นเข้าใจ : การสร้างความสัมพันธ์ในระดับสติปัญญา
    • รู้เรื่องที่ตนเองพูด – เอาเรื่องวิชาเอกที่เราถนัดก่อน เพื่อฟีดแบคที่ดี และความมั่นใจของเรา
    • รู้จักตัวคุณเอง – เตรียมตัวก่อน จะได้กลับมาประเมินตนเองได้ เพื่อปรับปรุงในครั้งถัดไป
  2. สิ่งที่ผู้คนรู้สึก : การสร้างความสัมพันธ์ระดับอารมณ์
    • ใส่ใจผู้อื่น
    • ทัศนคติบวก
    • เชื่อมั่นในตนเอง
  3. สิ่งที่ผู้คนได้ยิน : การสร้างความสัมพันธ์ด้วยวาจา
    • คำพูดที่เป็นบวก
    • สื่อถึงความมั่นใจในตัวผู้ฟัง
การตั้ง 5 คำถามสู่การเป็นนักสร้างสัมพันธ์
  1. ขณะนี้พวกเขา รู้สึกอย่างไร
  2. ขณะนี้พวกเขา รู้อะไร
  3. ขณะนี้พวกเขา มองเห็นอะไร
  4. ขณะนี้พวกเขา เข้าใจระดับไหน
  5. ขณะนี้พวกเขา ต้องการอะไร – อย่าไปฝืน เราต้องพูดให้เกิดความต้องการก่อน อย่าไปสร้างความอึดอัด ให้ในสิ่งที่เค้าไม่ต้องการ
5 แนวคิดการสื่อสารเรียบง่ายแต่ได้ผล
  1. พูดคุยกับผู้คน ไม่ใช่ไปแสดงความเหนือกว่า (คำถามต้องห้าม “พวกคุณตามผมทันมั้ยครับ”)
  2. เข้าประเด็นสำคัญ
  3. พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกในหลายๆโอกาส
  4. อธิบายให้ชัดเจน
  5. พูดให้น้อยลง
7 หัวใจของการสื่อสารให้ผู้คนสนใจ
  1. รับผิดชอบผู้ฟัง (ใช้พลังเสียง ให้เหมาะกับจำนวนผู้ฟัง และขนาดห้อง, เรียกว่า ร่องเสียงเงินล้าน)
  2. จงสื่อสารในโลกของผู้ฟัง (อย่าใช้ศัพท์เทคนิค ที่ผู้ฟังไม่เข้าใจ)
  3. ดึงความสนใจให้ได้ตั้งแต่เริ่มต้น
  4. กระตุ้นให้ผู้ฟังมีชีวิตชีวา
  5. พูดให้โดนใจ – ประโยคโดนๆตอนจบ หรือ คำคม คมความคิด ระหว่างพูด
  6. พูดให้เห็นภาพ – อุปมาอุปมัย
  7. เล่าเรื่อง – ดีที่สุดคือเหตุการณ์จริงที่คุณประสบ ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆก็เจาะมาเล่าได้
 ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
#พี่หนึ่งพัสกร
#วิศวกรสอนปลดหนี้

รบ “สงครามสร้างชีวิต” ให้ชนะ

3 สิ่งที่ผู้คนหวังจากตัวคุณ

1) ความแตกต่าง

2) ความหมายที่มีต่อชีวิตเขา

3) ความต่อเนื่อง

3 พื้นฐานการวางตำแหน่งตนเอง

1) บทบาท : บทบาทของคุณต่อผู้อื่น

2) มาตรฐาน : คุณทำมันอย่างไร มาตรฐานสูงในการสร้างผลงาน และดูแลจิตใจผู้คน

3) สไตล์ : คุณเกี่ยวข้องกับคนอื่นอย่างไร มีสไตล์เหมาะสมกับการสร้างความสำเร็จ

4) จุดมุ่งหมาย : ทำให้เรามีพลัง บางครั้งมากกว่าเงิน เช่น เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม และชีวิตผู้คน

 

7 กฎเหล็กแห่งการรบให้ชนะ

1) กฎแห่งความชัดเจน – เป้าหมายที่ถูกเขียนออกมา

2) กฎแห่งการรุกไปข้างหน้า – พลังที่มากพอ จะไปได้

3) กฎแห่งการรวมพล

4) กฎแห่งความยืดหยุ่น

5) กฎแห่งปัญญา

6) กฎแห่งการประสานกิจกรรม

7) กฎแห่งการติดตามผล

5 ปัจจัยหลัก สู่การเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่ง

1) เป้าหมายร่วม : สำเร็จตามลำดับขั้นร่วมกัน

2) ค่านิยมร่วม : เพื่อไปต่อร่วมกัน

3) แผนงานร่วม : 1 นาทีวางแผน ประหยัด 10 นาที ใช้แรง

4) ผู้นำในการรบ : ต่อสู้ ไม่ใช่พาทีมไปมอบตัวหรือยอมแพ้

5) การติดตามประเมินผลอยู่เสมอ

การใช้คำถามเพื่อการรบให้ชนะ 3 คำถาม

1) ทำไมผู้มุ่งหวังจึงต้องซื้อ Successmore

2) ทำไมผู้มุ่งหวังจึงต้องซื้อจากคุณ

3) คุณเป็นเลิศด้านไหน : หาซัก 1-3 ด้าน

5 คำถาม เพื่อการสร้าวความเติบโต

1) อะไรคือเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของคุณ

2) อะไรคือสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอันดับ 1,2,3

3) ผลที่ตามมาจากการทำหรือไม่ทำ / สิ่งดังกล่าวคืออะไร

4) อะไรฉุดรั้งคุณเอาไว้ จากการลงมือทำสิ่งดังกล่าว

5) ทำไมถึงทำ? ทำอย่างไร?

4 คำถามสำหรับการติดตาม เพื่อรบให้ชนะ

1) เราทำได้ดีเพียงใด

2) มีอะไรที่เราต้องปรับเปลี่ยนบ้าง

3) สิ่งใดที่เราจำเป็นต้องพัฒนาให้ดีขึ้น

4) ค่านิยม เป้าหมาย แผนงาน สอดคล้องกันหรือไม่

“ชีวิตคุณจะสูงขึ้นไป จนถึงระดับความรับผิดชอบ ที่คุณเต็มใจยอมรับ”