การตลาดแบบใหม่ 4E vs 4P

ในฐานะนักการตลาด นักขาย นักธุรกิจ ผู้บริหาร ที่อยู่ในวงการมา 17 ปี ผมพบว่ามันมีหลักการตลาดอยู่หลักๆอยู่ไม่กี่อย่าง ที่ได้เรียนมา และเอาไปใช้จริงๆจังๆ หนึ่งในนั้นคือหลักการตลาดแบบ 4P นั่นก็คือ Product (ผลิตภัณฑ์), Price (ราคา), Place (ทำเล), Promotion (การลด แลก แจก แถม)

           แต่นั่นมันเก่าล้าสมัยไปซะแล้ว เพราะมันกำลังจะถูกแทนที่ด้วย การตลาดแบบ 4E ซึ่งผมบังเอิญได้รับฟังในรายการวิทยุ และไป google ต่อ จากนั้นลองนำไปใช้ใน ธุรกิจซัคเซสมอร์ (Success More) ของผมดู ซึ่งเกือบทุกข้อ ผมได้ใช้หลักการนี้มาตลอด เพียงแต่ว่าไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง หลัก 4E มีอะไรบ้าง ลองอ่านดูนะครับ

1)  Product -> Experience : เปลี่ยนจากการแนะนำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ ให้เป็นการแนะนำประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับ หลังจากได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราแล้ว จะทำให้ผู้ใช้ (user) หลงรัก “ผลลัพธ์” และ เกิดความภาคภูมิใจ ที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

2) Price -> Exchange : การกำหนดราคา ไม่ได้ถูกกำหนดแบบ cost plus หรือ คิดต้นทุน แล้วบวกกำไรตามที่เจ้าของต้องการ หรือ price war การทำสงครามราคาแข่งกันอีกต่อไป เพราะในโลกแห่ง social media ที่ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และง่ายแค่ปลายนิ้ว ผู้ประกอบการต้องล้มมาหลายรายเพราะการกำหนดราคาผิดพลาด ดังนั้น แทนที่จะสนใจที่ราคา เราควรทำให้ผู้บริโภคมาสนใจที่ “คุณค่า” หรือ Value ของสินค้าที่ซื้อไปมากกว่า นักการตลาดที่เก่งจะเบี่ยงเบน เรื่องราคา โดยทำให้ผู้ซื้อรู้สึก คุ้ม ได้คุณค่า และแก้ปัญหาได้ หลังจากที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนแล้ว

 

aimstar, lives international, aim star, MLM, network marketing, 4E, 4P

หลักการตลาดแบบ 4E

          3) Place ->Everywhere : สมัยก่อนเราจะสนใจเรื่องทำเลที่ตั้ง สถานที่ หน้าร้าน ฮวงจุ้ย (บางคนลามไปถึง เลขที่ร้าน, นางกวัก และอื่นๆ) แต่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ธุรกิจอะไรที่สามารถทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงตัวเอง ตัวผลิตภัณฑ์ หรือแบรนด์ของตัวเองได้ จากทุกที่ทุกเวลา นั่นทำให้เค้านำหน้าคู่แข่งไป 1 ก้าวแล้ว ดังนั้น หากลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของเราได้จากบนอินเตอร์เน็ท (Internet) สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหน (Platform) ทั้ง iOS และ Android ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ เดบิต จะสร้างความสะดวก และลูกค้าจะติดใจแน่นอน

          4) Promotion -> Evangelism : การดึงดูดลูกค้าด้วย โปรโมชั่น หรือ การลด แลก แจก แถม สามารถได้เพียงลูกค้าขาจร หรือ User แต่การจะเปลี่ยนเค้าเหล่านั้น ให้ไป ลูกค้าประจำ (Repeated Customer) หรือ สาวก (Evangelism) ของผลิตภัณฑ์เรานั้น ไม่ได้ทำด้วยการอัดโปรโมชั่น มันต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ข้อด้านบน และปัจจัจอื่นๆตามมา เช่น การขนส่งสินค้า การบริการหลังการขาย ทางเลือกในการชำระเงิน การรับประกัน และแม้แต่พนักงาน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ “คุณภาพ” ของผลิตภัณฑ์ ที่ต้องโดดเด่น และสูตรที่ทันสมัย ตอบโจทก์ชีวิตของผู้ใช้ได้จริงๆ

 

ซึ่งใน ซักเซสมอร์ (SuccessMore Business) ที่ผมได้นำมาใช้อย่างไม่รู้ตัวแล้วนั้น มันแสดงถึงความเป็นธุรกิจแห่งอนาคต ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงแค่อาชีพ ที่ทำเพื่อเลี้ยงชีพ เหมือนธุรกิจอื่นๆอย่างแน่นอน