คอร์ส “ถอดรหัสลับ!! เริ่มธุรกิจออนไลน์อย่างไรแบบมือโปร”

 

ถอดรหัสลับ!! เริ่มธุรกิจออนไลน์อย่างไรแบบมือโปร

23 กันยายน 2564 เวลา  19:00 น.

คอร์สสอนมือใหม่ ทำการตลาดออนไลน์ โดยมือโปร 5 ท่าน

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  1.  ทำอย่างไรให้เว็บไซด์ของท่านขึ้นหน้าหนึ่ง Google
  2.  เขียนคอนเท้นให้ปัง ตังค์มาเอง – ภาพ วีดีโอ เนื้อหา
  3. สร้างแม่เหล็กดึงดูดลูกค้า ให้มาซื้อของออนไลน์เองจากเรา
  4. ติด GPS ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าจากเรา
  5. ทำออนไลน์ให้ไกลถึง Global

การันตีจากนักเรียนที่ผ่านคลาส และที่ปรึกษาให้คุณสามารถเริ่มธุรกิจได้ทันที

สนใจสำรองที่นั่ง คลิกที่นี่

จากกลยุทธการตลาด 4P ในอดีต สู่ 4E และปี 2021 นี้ คือ 4C

กลยุทธ์ 4C  คืออะไร?

4C คือ กลยุทธ์การตลาดที่คิดจากมุมมองของลูกค้า เพื่อค้นหาว่าลูกค้าต้องการอะไร คิดอย่างไร  นำเสนอคุณค่า และประสบการณ์ให้กับลูกค้า ช่วยให้สร้างการตลาดที่มีความหมาย และตอบโจทย์ของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น

ซึ่งต่างจาก 4P ที่คิดจากมุมมองของแบรนด์ หรือเจ้าของธุรกิจ ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าสนใจ และซื้อสินค้า หรือบริการของเรา

4P คืออะไร

4Ps (Product Price Placement Promotion) ประกอบด้วย

  • Product สินค้า สิ่งที่สามารถจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ซึ่งก็คือสินค้าหรือบริการที่เราจะขายที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
  • Price ราคา สิ่งที่ลูกค้าต้อง “จ่าย” เพื่อแลกกับการได้สินค้าและบริการ ซึ่งบางทีอาจจะไม่ใช่เงินเสมอไป มันอาจจะคือเวลาหรือการกระทำบางอย่างก็ได้
  • Place ช่องทางการจำหน่าย ช่องทาง ซึ่งเป็นได้ทั้งช่องทางการสื่อสาร (Communication) และช่องทางการจำหน่ายทั้งหมดที่เราสามารถนำสินค้าหรือบริการของเราส่งไปถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
  • Promotion การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมการตลาด โดยวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการตลาดคือกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ลูกค้าให้เกิดความสนใจและเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของเราได้ง่ายขึ้น

4C กลยุทธ์ดีๆ มีอะไรบ้าง

4C Marketing Strategy

กลยุทธทางการตลาด 4C

1. Customer : Product —> Consumer (wants and needs)

 – สิ่งที่ลูกค้าต้องการ หรือกำลังมองหา

เน้นไปที่สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจริงๆ ไม่ใช่สินค้าที่ดีแต่ไม่มีคนซื้อ บริษัทต้องศึกษา และทำความเข้าใจลูกค้าจริงๆ ของตัวเองอย่างลึกซึ้งว่ามีความต้องการอะไร เพราะสินค้าและบริการของธุรกิจนั้นก็ต้องเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้

ในอดีต เราจะผลิตหรือนำเสนอสินค้าแก่ผู้บริโภค โดยผู้บริโภคอาจจะไม่มีตัวเลือกมากนัก แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย ดังนั้นแทนที่จะผลิตสินค้าก่อน ให้ถามว่า “ผู้บริโภคต้องการอะไร?” “ผู้บริโภคพอใจในอะไร?”

นักธุรกิจต้องหันมาสนใจลูกค้ามากขึ้น ศึกษาและทำความเข้าใจลูกค้าว่า สิ่งที่ลูกค้าต้องการ หรือมองหา จริงๆแล้วคืออะไร อาจจะมีการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลว่า ลูกค้ามีปัญหา หรือ Pain Point อะไรบ้าง ที่ต้องการได้รับการแก้ปัญหา หลังจากนั้นจึงนำเสนอสินค้า หรือบริการที่มารองรับความต้องการในจุดนี้

การขายสินค้า หรือการให้บริการ ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่ตอบสนองแค่ตัวผู้ขายเองว่าอยากขายสินค้า หรือให้บริการตัวนี้เท่านั้น

2. Cost : Price —> Cost

– ความคุ้มค่าของลูกค้า

ค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องจ่าย คือ Cost เพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการ ในมุมมองของลูกค้า ลูกค้าไม่ได้สนใจว่าค่าวัตถุดิบคุณจะมีราคาเท่าไร ค่าขนส่งแพงขึ้นหรือไม่ แต่ลูกค้าจะมองว่า เงินที่พวกเขาจะจ่ายนั้น มันคุ้มค่ากับสินค้าหรือบริการหรือไม่ ซึ่งลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน ”Cost ของลูกค้าขึ้นอยู่กับแต่ละคน”

ลูกค้าจะเกิดการเปรียบเทียบระหว่างราคา และคุณภาพที่ได้รับว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่  รวมไปถึงเรื่องเวลา ความรู้สึก และปัจจัยอื่นๆ ที่ลูกค้าต้องแลกกับการซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเรา

การตั้งราคาสินค้าควรตั้งให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า และความคุ้มค่าที่ลูกค้าได้รับ หากสินค้าราคาสูงมาก และคุณภาพก็ดีมากเช่นกัน ทำไห้ลูกค้ายอมจ่าย เพราะรู้สึกคุ้มค่า และสมเหตุสมผล

3. Convenience : Place —> Convenience

– ความสะดวกสบายในการซื้อ หรือใช้บริการ

ในส่วนนี้ เราต้องคำนึงถึงการจัดจำหน่ายช่องทางไหนที่สะดวกต่อผู้บริโภคมากที่สุด  อาจจะมีการสำรวจรวบรวมข้อมูลว่า ปกติแล้วกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรามีการซื้อสินค้า หรือบริการประเภทนี้ผ่านช่องทางไหนบ้าง รวมไปถึงการชำระเงินช่องทางไหนที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับลูกค้า

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคออนไลน์ บางธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เพียงแค่จำหน่ายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ เราจะต้องมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้าหลายๆกลุ่มเข้าถึงสินค้า และบริการของเราได้ และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้อีกด้วย

สำหรับ 4Cs ที่เกิดขึ้นมาในยุคหลังๆ ที่เริ่มมี Internet แล้ว ทำให้สถานที่จัดจำหน่ายและช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบแค่ Physical อีกต่อไป ยิ่งในยุคออนไลน์ปัจจุบันแล้วด้วยนั้น ในหลาย ๆ ครั้งลูกค้าก็เลือกความสะดวกสบายมากกว่าการที่จะต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งหากคุณละเลยในช่องทางขายออนไลน์ ก็อาจจะทำให้เสียโอกาสทางการค้าไปอย่างมากมาย ช่องทางการชำระเงินก็ต้องให้ลูกค้าสะดวกสบาย ไม่ใช่โอนเงินแต่ละครั้งลำบากยากเย็น ลูกค้าไปซื้อร้านเลยทันที ยุคในยุคอินเตอร์เน็ต การที่ลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อร้านอื่นง่ายดายมาก ถ้ารูปไม่สวย โหลดช้า ตอบแชทช้า ลูกค้าก็เปลี่ยนไปซื้อร้านอื่นได้ทันที

4. Communication : Promotion —> Communication

– การสื่อสาร และการเลือกช่องทางการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

การสื่อสารในที่นี้ จะไม่เน้นไปที่การเชิญชวน หรือชี้นำ แต่จะให้ความสำคัญกับรูปแบบการสื่อสาร เนื้อหาที่นำเสนอ หรือสื่อช่องทางไหนที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าของเรามากที่สุด

หากเราสื่อสารไปให้ลูกค้าทราบว่า ทำไมลูกค้าจึงเหมาะสมกับสินค้า หรือบริการของเรา ในขณะนั้นลูกค้าอาจจะยังไม่ตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการ แต่เมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้า หรือใช้บริการ ธุรกิจของเราก็อาจจะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆเลยก็เป็นได้

เราจำเป็นต้องทำการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยให้เหตุผลว่า ทำไมพวกเขาจึงเหมาะสมกับสินค้าหรือบริการเหล่านั้น โดยที่ในบางครั้ง ผู้บริโภค อาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า พวกเขาต้องการอะไร โดยเฉพาะการสื่อสารที่ไปกับความต้องการของผู้บริโภค ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของพวกเขา และการสื่อสารในกลุ่าเป้าหมายยังประหยัดกว่าการหว่านโฆษณาไปยังทุกกลุ่มแบบ Mass โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์ที่กำหนดการโฆษณาหรือการทำโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่มได้ง่ายกว่า (google, facebook, intagram, tiktok, line และอื่นๆ ต่างมีเทคโนโลยีในการกำหนดเป้าหมายได้) แต่ก่อนที่ใช้แค่สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์

หลัก 4C คือ การเข้าถึงใจลูกค้า เพราะส่งต่อให้สินค้าเราแม้มีราคาสูงกว่าคู่แข่ง ถ้าหากลูกค้าพึงพอใจในแบรนด์ของคุณ เขาก็ยังคงเลือกใช้บริการคุณอยู่ดี และต่อเนื่องไปจากลูกค้าก็จะกลายมาเป็นลูกค้าประจำ แถมยังบอกต่อกับเพื่อน ๆ แนะนำให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเราอีกด้วย

O2O – Online To Offline / Offline To Online

สำหรับคนที่อยู่ในวงการการตลาด คงจะเคยได้ยินคำว่า O2O มาซักพักแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินคำนี้ ตอนนี้ มันกำลังจะมีนิยามใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก

นิยามเก่า O2O – Online To Offline หรือ จากออนไลน์สู่ออฟไลน์

อาลีบาบา (Alibaba) ในจีน

  • นำร่องร้านสะดวกซื้อไฮเทค Alibaba เปิดทดลองร้าน Tao Café ที่เมืองหางโจว (คล้ายกับร้าน Amazon Go ในสหรัฐฯ) โดยเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่ใช้พนักงาน เพียงแต่สแกนบาร์โค้ดใน App ของ Taobao ตรงทางเข้า สามารถเดินเลือกซื้อของได้ตามสะดวก หยิบของที่ต้องการครบแล้วก็เดินออกจากร้านได้เลย ส่วนเงินก็จะหักจาก App ในมือถือโดยอัตโนมัติ

FROM MADE IN CHINA TO SELLING IN CHINA: THE INNOVATIONS THAT TRANSFORMED CHINA INTO THE PLATFORM FOR ECOMMERCE – NextUnicorn

  • พลิกโฉมห้างสรรพสินค้า Alibaba สร้างห้างสรรพสินค้าชื่อ More Mall ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่ 40,000 ตร.ม. ที่เมืองหางโจว  ห้างสรรพสินค้า More Mall สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลผู้บริโภคมหาศาลของ Alibaba ทำให้รู้ว่าสินค้าออนไลน์ใดที่ได้รับความนิยม เพื่อเลือกนำมาจัดเป็นโชว์รูมให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง และได้ลองสินค้า ส่วนการสั่งซื้อและจ่ายเงินสามารถทำในโลกออนไลน์ นอกจากนั้น มีข่าวว่า Alibaba จะนำเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งใหม่ๆ เช่น ห้องลองเสื้อเสมือนจริงที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Reality

อะมาซอน (Amazon) ในสหรัฐอเมริกา

  • พลิกโฉมซูเปอร์มาร์เก็ต Amazon อเมริกา (ที่ไม่ใช่คาเฟ่อะเมซอนที่คนไทยรู้จักดี) ได้เข้าซื้อกิจการ Whole Foods Market เชนซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าสูงถึง 13,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ Amazon ได้พัฒนาธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการร้าน และเชื่อมต่อการให้บริการออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน แนวทางหนึ่งคือการพัฒนาบริการ Amazon Fresh บริการสั่งซื้อสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตและอาหารสดออนไลน์ ในอนาคต Amazon Fresh สามารถใช้ Whole Foods Market ที่มีสาขาทั้วประเทศ 466 แห่ง เป็นจุดที่ลูกค้ามารับสินค้าที่สั่งออนไลน์ รวมทั้งเป็นจุดกระจายสินค้าเพื่อจัดส่งสินค้าไปยังที่พักอาศัยของลูกค้าได้อีกด้วย
  • พลิกโฉมร้านหนังสือ ปัจจุบัน Amazon ได้เปิดตัวร้านหนังสือไปแล้ว 15 สาขา หนังสือที่อยู่ในร้านทั้งหมดจะต้องได้รีวิวเฉลี่ย 4 ดาวขึ้นไปในเว็บ Amazon นอกจากนั้น ยังนำข้อมูลลูกค้าออนไลน์ของ Amazon มาใช้จัดโซนหนังสือ เช่น “หนังสือที่ผู้อ่าน Kindle อ่านจบในสามวัน” หรือ “ถ้าคุณชอบเล่มนั้น คุณจะชอบเล่มนี้” เป็นต้น ลูกค้าที่เป็นสมาชิก Amazon ยังสามารถใช้ App สแกนหนังสือเพื่อดูว่าจะได้ส่วนลดเท่าไรIT: เปิดตัว Amazon Go ร้านสะดวกซื้อไร้แคชเชียร์ไม่ต้องต่อคิวจ่ายเงิน! (คลิป)
  • นำร่องร้านสะดวกซื้อไฮเทค เช่นเดียวกับร้าน Tao Café ของ Alibaba ที่จีน Amazon ได้เปิดตัวร้าน สะดวกซื้อไฮเทคชื่อ Amazon Go ขึ้นที่เมืองซีแอตเทิล ลูกค้าสามารถสแกนสินค้าผ่าน App เมื่อหยิบของที่ต้องการครบแล้ว ก็เดินออกจากร้านได้เลย ส่วนเงินก็จะหักจาก App ในมือถือโดยอัตโนมัติ

นิยามใหม่ O2O – Offline To Online หรือ จากออฟไลน์สู่ออนไลน์

ช่วงที่ผ่านมาการค้าขายผ่านร้านค้าออฟไลน์ในทุกๆที่ ถูกผู้บริโภค Gen Y ซึ่งเกิดช่วงปี 2523-2543 เมิน เพราะไม่สามารถสู้ราคาและความสะดวกของอีคอมเมิร์ซได้ จนต้องพากันปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนคุณอาจจะมองว่าจุดจบของธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์มาถึงแล้ว แต่ตอนนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Gen Z กลับมาซื้อสินค้าผ่านตลาดออฟไลน์มากขึ้น ทำให้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อครองใจเหล่า Gen Z

       ที่ผมจะพูดการตลาดแบบนี้ก็เพราะ ชาว Gen Z มีพฤติกรรมที่ชอบหาข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์ แต่จะซื้อในแบบออฟไลน์มากกว่า เนื่องจากพวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก บวกกับพฤติกรรมของ Gen Z ที่ชอบการเดินห้างเป็นพิเศษ ทำให้ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าต่าง ๆ จะศึกษา และหาข้อมูลสิ่งที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตก่อน จนมั่นใจว่าสินค้า และบริการที่ตัดสินใจซื้อนั้นดีจริง อาจจะดูแบบไซซ์ไว้ก่อน แต่สุดท้ายก็ชอบที่จะไปลองด้วยตัวเองมากกว่า

และจากข้อมูลพบว่า Gen Z นิยมซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย จากช่องทางออฟไลน์ถึง 52% รวมทั้งในกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางถึง 70% ที่มีการซื้อผ่านออฟไลน์ พอจะเห็นไหมครับ ว่าห้างสรรพสินค้า ร้านของแบรนด์ต่างๆ ไปจนถึงตลาดนัดทั่วไป เป็นแหล่งที่นักช้อป Gen Z ไว้วางใจและไปจับจ่าย แต่ถึงอย่างนั้นการให้ข้อมูลหรือการโปรโมทสินค้าต่างๆ บนโลกออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ Gen Z เลือกที่จะหาข้อมูลและเชื่อก่อน ทั้งหมดนี้จึงทำให้เกิด การตลาดแบบ O2O ขึ้นนั่นเอง

O2O คือ

กลยุทธการตลาดแบบ O2O

   1.เชื่อมต่อทั้งสองช่องทางอย่างลงตัว 

แน่นอนที่สุดว่า การทำให้ช่องทางออฟไลน์กับออนไลน์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องสำคัญของการปรับใช้ โมเดลธุรกิจ O2O หากเน้นออฟไลน์มากเกินไป คนที่รู้จักเราจะอยู่ในวงแคบเท่านั้น แต่ถ้าหากเน้นออนไลน์มากเกินไปจนบางทีเราลืมให้ความสำคัญกับหน้าร้านหรือออฟไลน์ ความน่าเชื่อถือของเราก็จะลดน้อยลง ดังนั้น เราควรจะปรับให้ทั้งสองไปด้วยกันได้อย่างเหมาะสมแค่นี้ธุรกิจเราก็ปัง ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน

   2.หน้าร้านเป็นจุดสำคัญ 

อย่างที่บอกว่า O2O คือ การรวมกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ ดังนั้น    หน้าร้านจึงเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจให้กับลูกค้า และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ พนักงานร้านต้องคอยให้ข้อมูลแนะนำลูกค้าตลอดจนการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยอีกทางหนึ่ง

   3.สื่อโซเชียลและแพลตฟอร์มสร้างตัวตน

การสร้างตัวตนให้คนรู้จักเรามากขึ้นจากที่รู้จักในบางพื้นที่ก็จะรู้จักไปทุกพื้นที่ เราก็ต้องอาศัยสื่อโซเชียลในการเคลื่อนไหวเรื่องราวต่างๆ ที่เราอยากบอกต่อ แนะนำ หรือพูดคุยกับลูกค้า และอีกตัวสำคัญคือการสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มของตัวเองบนโลกออนไลน์ อาจจะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว เฟซบุ๊คแฟนเพจ หรือไลน์แอด ก็จะช่วยสร้างให้เรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

   4.SEO ช่วยค้นหา

SEO เป็นการทำการตลาดผ่านคีย์เวิร์ดที่จะช่วยให้ลูกค้าค้นหาเราได้ง่ายขึ้นจากการทำกิจกรรม หรือ การโปรโมทต่างๆ ผ่าน Google search เพราะอย่างที่ผมได้บอกไปว่ากลุ่ม Gen Z มักจะหาข้อมูลก่อนซื้อสินค้าอยู่ ทำให้ผมคิดว่า การทำให้เขาเห็นได้ง่ายๆก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเลย

   5. Virtual Online Festival

เมื่อใช้กลยุทธ์ O2O กับงานแสดงสินค้า หรือ นิทรรศการ ส่วนใหญ่ผู้จัดงานนิยมใช้ไลฟ์สตรีมมิ่ง (Live Streming) เป็นตัวช่วยหลัก เพราะลูกค้าจะได้เห็นสินค้าเสมือนอยู่ในงานจริง ๆ นอกจากนี้ ผู้จัดงานอาจใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ จัดแสดงสินค้าหรือบริการและเพิ่มช่องทางให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้น เช่น Art Basel ในฮ่องกงที่มี Online Viewing Room เป็นแกลเลอรี่เสมือนจริงรับชมผ่านระบบออนไลน์ ผู้ซื้อบัตรเข้าชมแกเลอรี่สามารถเลือกซื้องานศิลปะที่สนใจได้ผ่านเว็บไซต์ของงาน

Virtual Meeting Space (VMS) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดงาน รวมถึงเพิ่มทักษะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการไมซ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19

หรือยกตัวอย่างบริษัท นู สกิน (Nu Skin) ที่จัดกิจกรรม Virtual Expo หรือ เอ็กซ์โปเสมือนจริง ทั้งรูปแบบการจัดระดับนานาชาติ หรือในแต่ละประเทศที่ นู สกิน ไปเปิดสาขาอยู่ เช่นในประเทศไทยเป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ลดการรวมคน ซึ่งอาจเป็นโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อ Covid19 ของลูกค้า ตัวแทน และพนักงาน แต่ยังคงช่วยเพิ่ม brand awardness และกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี

Virtual EXPO

ดังนั้น สำหรับผมแล้ว O2O ในโลกยุคปัจจุบัน คือ การผสานกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์อย่างลงตัว ไม่มีธุรกิจออนไลน์ 100% หรือ ออฟไลน์ 100% ที่จะอยู่รอดในโลกปัจจุบันได้อีกแล้ว ทั้งสองกลยุทธนี้ ต้องไปด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม)

สนใจเข้าร่วมสัมมนา Digital Business Platform >> คลิ๊กที่นี่เพื่อลงทะเบียน

(เครดิต ที่มาข้อมูล : mice intelligence & innovation, egg digital, ktndevelop, marketingoops, the101, adsidea)