คอร์ส “ถอดรหัสลับ!! เริ่มธุรกิจออนไลน์อย่างไรแบบมือโปร”

 

ถอดรหัสลับ!! เริ่มธุรกิจออนไลน์อย่างไรแบบมือโปร

23 กันยายน 2564 เวลา  19:00 น.

คอร์สสอนมือใหม่ ทำการตลาดออนไลน์ โดยมือโปร 5 ท่าน

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  1.  ทำอย่างไรให้เว็บไซด์ของท่านขึ้นหน้าหนึ่ง Google
  2.  เขียนคอนเท้นให้ปัง ตังค์มาเอง – ภาพ วีดีโอ เนื้อหา
  3. สร้างแม่เหล็กดึงดูดลูกค้า ให้มาซื้อของออนไลน์เองจากเรา
  4. ติด GPS ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าจากเรา
  5. ทำออนไลน์ให้ไกลถึง Global

การันตีจากนักเรียนที่ผ่านคลาส และที่ปรึกษาให้คุณสามารถเริ่มธุรกิจได้ทันที

สนใจสำรองที่นั่ง คลิกที่นี่

อยากเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ สตาร์ทอัพ

หลัง โควิด (Covid-19) การปรับตัวของ Entrepreneur เพื่อไปต่อ

หลังมาตรการผ่อนปรน COVID-19 หลายองค์กรได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจมีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ความท้าทายสำหรับเจ้าของธุรกิจอย่างการนำพาองค์กร Transform เพื่อไปต่อ และก้าวข้ามวิกฤตการณ์ โควิด-19 เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจอย่างแท้จริงนับเป็นโจทย์ที่ท้าทาย

สำหรับมาตรการรับมือกับการปลดล็อคในเฟส 2 นี้ มีปัจจัยหลักที่ต้องเตรียมการณ์ในฐานะเจ้าของธุรกิจหลายส่วน

1. การรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด -19 ด้วยเครื่องมือออนไลน์ (ONLINE)
 การนำสื่อดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน: ทั้งการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และการเทรนทีมงานเพื่อให้การทำงาน และถ่ายทอดความรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง นับเป็นสิ่งจำเป็นเร่งรัด ทีมงานจำเป็นต้องอัพเดทความรู้ความสามารถ และทักษะให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อพัฒนาและตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุดที่สุด
 มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัย: ในฐานะผู้ประกอบการ บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขอนามัย และความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน เป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการเข้ารับบริการและปฏิบัติงาน บริษัทฯ มีการให้บริการเจลแอลกอฮอล์ ตามจุดต่างๆ ณ บริเวณทางเข้าสาขา และหน้าเคาเตอร์ พร้อมกับมีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดภายในสาขาตามรอบความถี่ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

2. การดูแลจุดสัมผัสลูกค้าทุกๆ จุด (Customer Touchpoints)
Touchpoint นับเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์สำคัญของ Brand Experience และเป็นส่วนหนึ่งของ Customer Journey เพื่อหาจุดสำคัญในการสร้างประสบการณ์พิชิตใจลูกค้า การสร้างความรู้สึกดีกับแบรนด์ให้ถูกที่ ถูกเวลา (Touchpoint) เป็นหัวใจหลัก เพราะประสบการณ์ตรง สร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า ในแง่ของบริษัทฯ ควรให้ความสำคัญกับทุกจุดสัมผัสลูกค้าในทุกๆ จุด ไม่ว่าจะเป็นการที่ลูกค้าเข้ามาติดต่อที่สาขา การให้บริการของพนักงาน ทั้งการพูดจา และใบหน้าที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส ความละเอียดอ่อน เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ และต้องมีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

3. เริ่มต้นขับเคลื่อนองค์กรเหมือนเปิดบริษัทใหม่ (Everyday is Day 1)
ด้วยการมองทุกมุม ทุกมิติ ต้องมีหลักในการมองว่าปัจจัยการแข่งขันในชั่วโมงนี้แข่งขันด้วยอะไรบ้าง เพราะบางครั้งแค่สินค้าดี ราคาโดนอาจไม่พอ เจ้าของธุรกิจต้องรู้ใจลูกค้า และเสิรฟทันเวลาด้วย ต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน และประเมินว่าปัจจัยการแข่งขันตรงกับความสามารถที่เรามีหรือไม่ ถ้าไม่เราต้องปรับและเพิ่มศักยภาพของเราให้แข็งแรงเพื่อไปต่อ! จนเพร้อมที่จะสามารถแข่งขันได้ ทั้งในส่วนของผู้บริหาร และทีมงาน

4. การบริหารการเปลี่ยนแปลง
บางครั้งการยึดติดกับกรอบและแบบแผนเดิมๆ ทำให้บริษัทฯ ยากในการไปต่อ ยกตัวอย่างในเรื่องของเทคโนโลยี และเรื่องของบุคลากร 2 เรื่องหลักที่ผู้บริหารต้องรู้ จึงจะสามารถจัดการและบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งการเรียนรู้ ปรับตัว ปรับองค์กร ปรับมายด์เซ็ททีมงาน และอัพเกรดความรู้ให้ทันกับยุคสมัย รวมถึงการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ โดยเฉพาะโมเดลแบบออนไลน์ที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันด้วย

5. เคลื่อน Value ของแบรนด์ให้สูงขึ้น
หนึ่งในกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มของแบรนด์ คือ การสร้างเอกลักษณ์สินค้า การใส่เรื่องราวความสำคัญ คุณค่าของสินค้าและบริการ ความเชี่ยวชาญของผู้บริหารและทีมงานให้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ โดยการตลาดยุคก่อนจะใช้วิธีการโปรโมทโดยการหยิบยก Functional Value หรือคุณค่าในการใช้งานเป็นหลัก และพัฒนามาเป็นการสื่อสารโดยใช้ Emotional Value หรือการนำเรื่องราวคุณค่าทางอารมณ์ขึ้นมาชูเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขึ้นไปอีกก้าว ทว่าการตลาดในยุคนี้ต้องเหนือขึ้นไปอีกขั้น ในขั้นที่เรียกว่า Spiritual Value ที่สื่อลึกถึงระดับจิตวิญญาณ ในขั้นนี้ไม่ได้พูดถึงแค่ product ว่าทำอะไร แต่เป็นคุณค่าที่สะท้อนถึงความเชื่อ ความศรัทธาของทีมงาน ขององค์กร ว่าคุณค่าที่แท้จริงของแบรนด์คืออะไร แบรนด์ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคม ช่วยยกระดับประเทศชาติให้ทัดเทียมกับนานาประเทศได้อย่างไร

เคล็ดลับสร้างพลังใจ ปลุกไฟให้กับทีมงานก้าวข้ามผ่านภาวะวิกฤต
เจ้าของธุรกิจต้องวางแผนรับมือเพื่อให้สามารถสอดรับประสานกันกับทุกส่วนงาน สถานการณ์ โควิด-19 ก็เหมือนกับสถานการณ์อื่นๆ ที่ต้องมีวันสิ้นสุด ซึ่งหากมองการณ์ไกลและวิเคราะห์สถานการณ์ได้ถูก เพื่อเตรียมแผนในการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสการขายและดำเนินต่อไปได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้แรงขับเคลื่อนในการไปต่อหนีไม่พ้นทีมงานที่เป็นกำลังสำคัญขององค์กร บริษัทฯ จึงควรเตรียมความพร้อมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงาน โดย

1) ยกระดับมุมมองของบทบาทในงานของพนักงาน: เพื่อให้พนักงานมีมุมมองที่มี value สูงขึ้น ไม่ใช่การทำงานให้จบไปวันๆ

พนักงานต้องมีพลังจากภายใน รู้ meaning ของบทบาทที่ทำอยู่ บทบาทในที่นี้มีความหมายด้วยกัน 3 ระดับ คือ
– ระดับที่ 1: ทำงานเพื่อแลกกับเงิน หรือการทำงานแบบทำไปเรื่อยๆ ไร้ทิศทาง ไม่ Proactive
– ระดับที่ 2: ทำงานแบบมืออาชีพ มีการวางแผนงานแบบ Long-term มีระเบียบแบบแผน สร้างผลลัพธ์ให้เป็นที่ประจักษ์
– ระดับที่ 3: ทำงานแบบทำพันธกิจ คือ การทำงานเบบพันธสัญญา สร้างสังคมใหม่ ส่งมอบคุณค่าให้กับผู้คน เพื่อนำพาชีวิตของเขาเหล่านั้นไปสู่วิถีใหม่ที่ดียิ่งขึ้น

พนักงานจำเป็นต้องมีเป้าหมายในการทำงาน เพราะถ้าขาดเป้าหมายแล้ว จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ และไม่เข้าใจถึงคุณค่าของงานที่ตนได้ส่งมอบ ในฐานะเจ้าของกิจการ เราต้องคอย refill หรือเติมไฟ เติมกำลังใจให้กับทีมงานเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้น

2) พลังแห่งความเป็นเรา
เจ้าของธุรกิจควรพูดคุย สื่อสารกับพนักงานอยู่เสมอ เมื่อบริษัทฯ เจอผลกระทบ ต้องมีการสื่อสารกับพนักงานอย่างใกล้ชิด
อยู่กันด้วยความรัก ความเข้าใจ และการแบ่งปัน เราสื่อสารกับพนักงานถึงความจริงใจขององค์กร

3) การจัดทีมย่อยเพื่อสร้างผลงาน
เปิดโอกาสให้ทีมงานได้โชว์ศักยภาพ และแสดงผลงาน เช่น รวมกลุ่มย่อยจากพนักงานทุกแผนก 5 คน ให้ตั้งทีมทำงานแบบ Cross Functional Team ร่วมกัน เพื่อนำเสนอไอเดียที่เป็นประโยชน์กับองค์กร โดยจะนำไอเดียที่ Impact ที่สุดของทีมที่ถูกคัดเลือกมาใช้เป็นแคมเปญ Kick Off และมีการติดตาม ประเมินผลกันทุกเดือน

4) Mindset เรื่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การสร้างคน เช่น การนำแนวคิดหรือวิธีใหม่ๆ มาแชร์ให้ทีมงานฟัง และนำไปประยุกต์ใช้ พร้อมๆ ไปกับการต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น เพราะบางครั้งถ้าเรายึดติดกับวิธีทำงานแบบเดิมๆ แล้วไม่เวิร์ค เราต้องไว และปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า และตลาด

5) ใช้ชีวิตด้วยกระบวนการสมดุล 4Q
การพัฒนาภาวะสมดุลทั้ง 4 ให้บาลานซ์กันในการทำงาน ทั้ง
– IQ พัฒนาสติปัญญา ฟังยูทูป อ่านหนังสือในเรื่องที่เป็นประโยชน์
– PQ ร่างกาย ออกกำลังกายให้แข็งแรง เพื่อให้มีพลัง
– EQ การควบคุมตนเอง การเชื่อมต่อกับคนอื่น ควบคุมตนเองได้ อย่าทำให้เสียภาวะความเป็นผู้นำ และ
– SQ ด้านจิตวิญญาณ ทำเพื่อคนอื่น ยิ่งให้ยิ่งได้รับกลับ และชีวิตจะเจริญขึ้น

การสร้าง Mindset แห่งความโชคดี
โชคดีสร้างได้ เพียงคุณมี 10 กฏเหล็กนี้

1) คนโชคดีมีเป้าหมายที่ชัดเจน
คนประสบความสำเร็จต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน จุดมุ่งหมายที่จดจ่อ

2) รู้ว่าอะไรสำคัญสำหรับเรา

3) รู้จักความสามารถของตนเอง

4) เรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเราอย่างต่อเนื่อง Life Long Learning

5) การสร้างนิเวศน์วิทยาที่ดีทั้งภายใน และภายนอกตัวเรา
– ชีวิตที่มีนิเวศน์ภายนอกที่ไม่ดี เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี อยู่กับคนคิดลบ เราต้องดึงตนเองออกมา อยู่กับคนคิดบวก อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน เช่น การจัดระเบียบออฟฟิศ ให้หาของง่าย ไม่ใช่ใช้ระบบ ‘ซุกกิ้ง System’ หรือ ‘คุ้ยซิ่ง Circle’ ที่ซุกกองเอกสารไว้ กว่าจะได้เริ่มต้นทำงานก็หมดเวลาไปกับการควานหาเอกสาร
– นิเวศน์ภายใน เช่น เรื่องของมายด์เซ็ท เช่น growth/ fix mindset ถ้าเราคิดว่าเราไม่คู่ควร ก็จะยากต่อการไปต่อ เพราะสมองที่เต็มไปด้วยเรื่องลบ จะทำให้ท้อแท้ หมดกำลังใจ และถอดใจไปได้ง่ายๆ

6) การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับโอกาสที่มีมาอยู่ตลอด

7) ตัดสินใจเป็นต้นเหตุแห่งการสร้างผล อย่ารอผลแต่จงรีบเริ่มลงมือทำ และวาสนาจะมาเอง ในมุมของคนทำงาน เราจำเป็นต้องพัฒนาตน โชว์ผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าตา เพื่อ support เจ้านายเรา ให้เจ้านายขาดเราไม่ได้ ถ้าทำเช่นนี้แล้ว ผลที่ดีนั้นต้องเป็นของเราอย่างแน่นอน และเราก็จะกลายเป็นคนโชคดี เพราะมีทางเดิน – ทางเลือกในชีวิตเยอะ สรุปคือ เราต้องทำสิ่งที่ทำให้ดี ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายของเรา

8) การก้าวออกจาก Comfort Zone ให้ได้ ต้องกล้าที่จะก้าวข้ามพื้นที่ Comfort Zone ออกมา พื้นที่ข้างนอกนี้เท่านั้น ที่จะทำให้เรามีโอกาสเติบโต เช่น การกล้ารับงานที่ท้าทายขึ้น แรกๆ อาจจะกลัว (เป็น Fear Zone) แต่ถ้าเราทำไปสักพัก เราจะเริ่มควบคุมความกลัวได้ เริ่มคุ้นเคย (Learning Zone) ส่งผลให้เรามีพื้นที่ที่เราสบายใจกว้างขึ้น

เหมือนตอนหัดขับรถใหม่ๆ ถ้าเรามัวแต่กลัวจะไม่ได้ทำ ไม่ได้ขับสักที ฉะนั้นการลงมือทำทั้งๆ ที่ยังกลัว จะทำให้เราเรียนรู้ และออกจากพื้นที่ Comfort Zone ของเรา เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นได้

9) ทำงานหนักอย่างฉลาด คนทำงานหนัก ต้องฉลาดทำงาน และทำให้ถูกเรื่องด้วย
มีวิสัยทัศน์ที่ดี รู้ Trend ตลาด ออกอาวุธทางการตลาดได้ถูกจุด พัฒนาความสามารถและการประเมิน คุณภาพชีวิตขึ้นอยู่กับคุณภาพการตั้งคำถาม หมายถึงความโชคดีของเราขึ้นอยู่กับคุณภาพคำถามที่เราถามในวันนี้

โชคดีจะไม่เกิดกับคนที่ไม่ทำอะไรเลย ถ้าเราใช้สมองมากขึ้น เราจะใช้แขน ขาน้อยลง เราต้องรู้ว่าต้องทุ่มความพยายามไปที่จุดไหน อย่าเรียกร้องความสำเร็จเร็วเกินไป ให้เก็บเกี่ยวผลลัพธ์ พร้อมใส่ความเชื่อว่าฉันทำได้ และใส่แรงจูงใจ เชื่อว่าทำได้

10) จงตื่นตัวมีชีวิตชีวา สดชื่น มีความหวังอยู่เสมอ การตื่นตัวอยู่ตลอด จะทำให้เรามีชีวิตชีวา เราจะถ่ายเทความกระตือรือร้นไปให้กับทีมงานได้ ให้ทีมงานได้ตื่นตัวไปกับเราด้วย คิดดี คิดบวก คิดถึงความเป็นไปได้ ให้ระวังคำพูดที่สื่อสารกับตัวเอง จินตนาการภาพชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ลุคขึ้นมาแอคชั่น มาลงมือทำในสิ่งที่ส่งเสริมตัวเรา จนเรากลายเป็นคนโชดดีในที่สุด

ขอฝากความหวัง ความกล้า ความเชื่อ และความเชื่อมั่น ในกับทุกท่าน
New Normal หลังวิกฤตโควิด -19 ธุรกิจต้องเดินหน้า เราต้องไปต่อ ต้องมีความหวัง ความเชื่อว่าฉันนี่ละทำได้ ใช้ความกล้าในการลงมือทำ ว่าเราเชื่อมั่น พร้อมปลุกพลังของคนในองค์กร เพื่อนำมาให้ทุกๆ ท่านบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

 

สนใจสัมมนาธุรกิจออนไลน์ ฟรี คลิ๊ก https://www.youngrich.net/registration/

(อ้างอิงเนื้อหาจาก CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร SmartSME)

The 20/80 Rule (ทำ 20 ให้ได้ 80)

          เฉกเช่น ร่างกายของเรา ที่มีจุดสลบที่เมื่อโดนตึ แล้วจะสลบ เช่น ท้ายทอย โดนตีก็จะสลบได้ แต่ว่าตีแขนหรือขา ก็จะไม่สลบ ดังนั้น ชีวิตเราก็เหมือนกัน ที่เราจะต้องมาดูว่า มีจุดไหนบ้างที่จะ ทำ 20 ให้ได้ผลลัพธ์ 80 คือ ทำไม่เหนื่อยแบบเก่า แต่ผลลัพธ์จะได้มากกว่าเดิม
1) ปรับเปลี่ยนกรอบความคิด
    – เข็มนาฬิกา vs เข็มทิศ –> คนส่วนใหญ่ในโลก ทำงานด้วยเข็มนาฬิกา ไม่ใช้เข็มทิศ คุณต้องตอบคำถามนี้
“คุณกำลังพยายามมุ่งไปทางไหน และทำอะไร สำคัญกว่าคุณจะทำงานได้มากขึ้นหรือไม่ และทำได้ดีแค่ไหน”
“คุณกำลังทำสิ่งทีทำให้คุณบรรลุเป้าหมายหรือไม่”
    – เข็มนาฬิกา คือ ข้อผูกมัด การนัดหมาย แผนกำหนดการ เป้าหมาย กิจกรรมต่างๆ การสื่อสารกับทีม
    – เข็มทิศ คือ วิสัยทัศน์ คุณค่า หลักการ (กฎ) อัตลักษณ์ จิตสำนึก ทิศทางที่คุณดำเนินชีวิต (ถ้าชีวิตยังไม่ดี คนรอบข้างก็ฟีดแบคไม่ดีกับคุณ แสดงว่าคุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง เช่น หนังสือที่คุณอ่าน วิธีคิดของคุณ นิสัยของคุณ เป็นต้น)
2) กรอบความคิดกำหนดส่ิงที่คุณจะได้รับ
มองเห็น –> ปฏิบัติ –> ได้รับ —> มองเห็น —->
(จุดเริ่มต้นของผลลัพธ์ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้น ต้องดูแลกรอบความคิดของคุณให้ดี)
สภาวะการติดอยู่ในความเร่งรีบ (4 qaudrant of prioritize) เวลาส่วนใหญ่ควรอยู่กับงานสำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน คือ การมองวิสัยทัศน์ การพัฒนาตนพัฒนาทีม การวางแผนงาน การกำหนดค่านิยม การสร้างสายสัมพันธ์ (บัญชีออมใจ ต้องปฏิบัติตนสม่ำเสมอต่อเนื่อง จึงจะชนะใจคน) การสอนอย่างถูกต้อง การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ (ยิ่งมีปัญหากับใคร ยิ่งต้องสื่อสาร ความเงียบ คือ การเพิ่มปัญหา ไม่ฟัง ไม่ปรับ ยิ่งไปกันไม่ได้ สายสัมพันธ์ยิ่งแย่ไปกันใหญ่)
*** เอาเวลา 3 4 มาใช้กับ 2 สุดท้าย ทำ 2 มากขึ้น 1 จะลดลง เราจะมีความสุขกับการใช้ชีวิตอยู่กับ 2 ***
3) การยกระดับตน ด้วยการผนึกพลังความต้องการพื้นฐานทั้งสี่
   – กายภาพ เช่น ร่างกาย การแต่งกาย
   – สังคม เช่น การมีเพื่อน เข้าสังคม
   – สติปัญญา เช่น มนุษย์ความมีสติปัญญาเพิ่มพูน เมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดย ฟังซีดี อ่านหนังสือ เข้าสัมมนา
   – จิตวิญญาณ เช่น การคิดถึงองค์กร สังคม ประเทศชาติ ถ้าหากคิดระดับจิตวิญญาณ จะทำให้เราอัพเกรดความสามารถได้ เพราะเราจะมุ่งให้คุณค่ากับคนอื่น แล้วเราจะมีพลังล้นเหลือ
ศักยภาพเฉพาะของมนุษย์ 4 ประการ
  1. การรู้จักตนเอง
  2. จิตสำนึก (รู้เรื่องอะไรควรไม่ควร เช่น จรรยาบรรณ และการสำนึกคุณ) เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่อย่างมีจิตสำนึก
  3. ปณิธานแห่งอิสรภาพ (ควรต้องมีแรงฮึด เพื่อสร้างอิสรภาพให้ได้)
  4. จินตนาการสร้างสรรค์ (เพื่อสร้างความสำเร็จ)
4) การบริหารเวลาโดยการวางกรอบปี แต่จดจ่อรายสัปดาห์
(วางแผนงานรายปี และรายไตรมาส ซึ่งช่วงเวลา 3 เดือนเป็นช่วงเวลาที่คุณปรับอะไรได้ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป, ลงมาเนื้องานรายเดือน และรายสัปดาห์ ซึ่งจะครอบคลุมงานพัฒนาตน และเนื้องานเพื่อสร้างธุรกิจ แต่เราจะไม่จดจ่อรายวัน ซึ่งสั้นเกินไป เปรียบเสมือนคนหาเช้ากินค่ำ)
  1. เชื่อมโยงเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และปณิธานชีวิตของคุณ (ปณิธานที่เป็น ผู้นำที่ช่วยเหลือ เปลี่ยนแปลง ยกระดับชีวิตผู้คน) จงตอบคำถามเหล่านี้ปีละครั้ง
    1. อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด ในชีวิตของคุณ
    2. อะไรคือส่ิงที่ทำให้ชีวิตของคุณมีความหมาย
    3. คุณอยากที่จะเป็นอะไร และต้องการที่จะทำอะไรในชีวิต
  2. กำหนดบทบาทของคุณ และส่ิงที่คุณต้องทำรายสัปดาห์ สิ่งที่ต้องทำในบทบาทต่างๆ เช่น ดาวน์ไลน์ อัพไลน์ ผู้จัดการ ผู้นำ เทรนเนอร์ เชียร์ลีดเดอร์ คนขององค์กร ซึ่งไม่ว่าจะสัปดาห์ไหน คุณต้อง “ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ”
  3. ปรับและเลือกเป้าหมาย ในพื้นที่ 2 สำหรับแต่ละบทบาท
  4. จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันทำสิ่งเหล่านี้ในสัปดาห์หน้า
    1. ฉันจะรู้สึกอย่างไร ต่อบทบาทที่ฉันเป็น
    2. จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฉันทำได้เพียงบางอย่าง
    3. ฉันจะได้รับผลแตกต่างต่อชีวิต ในทางบวกหรือไม่
    4. ถ้าฉันทำสิ่งเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ จะเป็นอย่างไร
    5. ฉันจะมีประสิทธิผลมากกว่าที่เป็นอยู่นี้หรือไม่

5. จัดตารางทำกิจกรรมประจำสัปดาห์

6. ซื่อสัตย์และรักษาวินัยในการปฏิบัติ

7. ประเมินผล

  1. ฉันได้บรรลุผลในเป้าหมายอย่างไรบ้าง
  2. ฉันได้เผชิญความท้าทายอะไรบ้าง
  3. ฉันได้ตัดสินใจอย่างไร
  4. ในการตัดสินใจ ฉันได้คิดถึงสิ่งสำคัญก่อนหรือไม่
  5. ฉันกำลังคืบหน้าไปสู่เป้าหมายรายปี และวิสัยทัศน์หรือไม่
5) การสร้างข้อตกลงแบบหวังผลร่วมกัน
องค์ประกอบ 5 ประการ
  1. ผลที่ต้องการ
  2. แนวทาง
  3. ทรัพยากร เช่น สื่อ บัตร เวลาของอัพไลน์
  4. ความรับผิดชอบที่วัดผลได้ เช่น จำนวนคนเข้างาน จำนวนคนรับเข็ม
  5. ผลที่จะตามมา
6) การปลดปล่อยศักยภาพจากภายในสู่ภายนอก
  1. ความน่าไว้วางใจ (ส่วนตัวและองค์กร) มีคุณลักษณะ ที่รักษาคำพูด วุฒิภาวะ ความใจกว้าง มีความสามารถ ทักษะ โครางสร้าง และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
  2. ความไว้วางใจ (มีข้อ 1 และเกิดข้อ 2, มี 5 ข้อ 2 ก็เกิ)
  3. ข้อตกลงแบบชนะ – ชนะ
  4. การกำกับดูแล
  5. โครงสร้างและระบบที่สอดคล้อง
  6. ความรับผิดชอบ ที่วัดผลได้
“เมื่อไรก็ตามที่คุณคิดว่าปัญหานั้นอยู่ที่โน่น ความคิดนั้นแหล่ะคือปัญหา” เราต้องแก้ที่ความคิดของเราก่อนจึงจะสำเร็จ