จิตวิทยาแห่งการการเชื่อมต่อผู้คน The Psychology of CONNECT with People

คำถาม 3 ข้อที่อยู่ในใจของผู้คน (คุณต้องระลึกไว้ในใจเสมอ ว่าฝ่าย่ตรงข้ามกำลังคิดแบบนี้กับคุณอยู่)
  1. คุณห่วงในฉันหรือเปล่า
  2. คุณช่วยเหลือฉันได้หรือเปล่า
  3. ฉันไว้วางใจคุณได้หรือเปล่า
องค์ประกอบ 3 ประการ ของการสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อ
  1. ความคิด –> ให้ความน่าเชื่อถือ
  2. ความรู้สึก –> ให้ความมีชีวิตชีวา
  3. การกระทำ –> ให้ความเชื่อมั่น
องค์ประกอบ 4 ประการ ของการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน
  1. สิ่งที่คนอื่นมองเห็น : ให้คนอื่นมองเห็นสิ่งที่น่าประทับใจ
    • กำจัดสิ่งที่ทำให้ตัวคุณดูไม่ดี
    • ถ่ายทอดความรู้สึกให้ได้หลายแบบ
    • เคลื่อนไหวอย่างมีเป้าหมาย
    • แสดงท่าทีเปิดเผยเสมอ
    • สนใจสภาพแวดล้อมรอบตัว
  1. สิ่งที่คนอื่นเข้าใจ : การสร้างความสัมพันธ์ในระดับสติปัญญา
    • รู้เรื่องที่ตนเองพูด – เอาเรื่องวิชาเอกที่เราถนัดก่อน เพื่อฟีดแบคที่ดี และความมั่นใจของเรา
    • รู้จักตัวคุณเอง – เตรียมตัวก่อน จะได้กลับมาประเมินตนเองได้ เพื่อปรับปรุงในครั้งถัดไป
  2. สิ่งที่ผู้คนรู้สึก : การสร้างความสัมพันธ์ระดับอารมณ์
    • ใส่ใจผู้อื่น
    • ทัศนคติบวก
    • เชื่อมั่นในตนเอง
  3. สิ่งที่ผู้คนได้ยิน : การสร้างความสัมพันธ์ด้วยวาจา
    • คำพูดที่เป็นบวก
    • สื่อถึงความมั่นใจในตัวผู้ฟัง
การตั้ง 5 คำถามสู่การเป็นนักสร้างสัมพันธ์
  1. ขณะนี้พวกเขา รู้สึกอย่างไร
  2. ขณะนี้พวกเขา รู้อะไร
  3. ขณะนี้พวกเขา มองเห็นอะไร
  4. ขณะนี้พวกเขา เข้าใจระดับไหน
  5. ขณะนี้พวกเขา ต้องการอะไร – อย่าไปฝืน เราต้องพูดให้เกิดความต้องการก่อน อย่าไปสร้างความอึดอัด ให้ในสิ่งที่เค้าไม่ต้องการ
5 แนวคิดการสื่อสารเรียบง่ายแต่ได้ผล
  1. พูดคุยกับผู้คน ไม่ใช่ไปแสดงความเหนือกว่า (คำถามต้องห้าม “พวกคุณตามผมทันมั้ยครับ”)
  2. เข้าประเด็นสำคัญ
  3. พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกในหลายๆโอกาส
  4. อธิบายให้ชัดเจน
  5. พูดให้น้อยลง
7 หัวใจของการสื่อสารให้ผู้คนสนใจ
  1. รับผิดชอบผู้ฟัง (ใช้พลังเสียง ให้เหมาะกับจำนวนผู้ฟัง และขนาดห้อง, เรียกว่า ร่องเสียงเงินล้าน)
  2. จงสื่อสารในโลกของผู้ฟัง (อย่าใช้ศัพท์เทคนิค ที่ผู้ฟังไม่เข้าใจ)
  3. ดึงความสนใจให้ได้ตั้งแต่เริ่มต้น
  4. กระตุ้นให้ผู้ฟังมีชีวิตชีวา
  5. พูดให้โดนใจ – ประโยคโดนๆตอนจบ หรือ คำคม คมความคิด ระหว่างพูด
  6. พูดให้เห็นภาพ – อุปมาอุปมัย
  7. เล่าเรื่อง – ดีที่สุดคือเหตุการณ์จริงที่คุณประสบ ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆก็เจาะมาเล่าได้
 ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
#พี่หนึ่งพัสกร
#วิศวกรสอนปลดหนี้

รบ “สงครามสร้างชีวิต” ให้ชนะ

3 สิ่งที่ผู้คนหวังจากตัวคุณ

1) ความแตกต่าง

2) ความหมายที่มีต่อชีวิตเขา

3) ความต่อเนื่อง

3 พื้นฐานการวางตำแหน่งตนเอง

1) บทบาท : บทบาทของคุณต่อผู้อื่น

2) มาตรฐาน : คุณทำมันอย่างไร มาตรฐานสูงในการสร้างผลงาน และดูแลจิตใจผู้คน

3) สไตล์ : คุณเกี่ยวข้องกับคนอื่นอย่างไร มีสไตล์เหมาะสมกับการสร้างความสำเร็จ

4) จุดมุ่งหมาย : ทำให้เรามีพลัง บางครั้งมากกว่าเงิน เช่น เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม และชีวิตผู้คน

 

7 กฎเหล็กแห่งการรบให้ชนะ

1) กฎแห่งความชัดเจน – เป้าหมายที่ถูกเขียนออกมา

2) กฎแห่งการรุกไปข้างหน้า – พลังที่มากพอ จะไปได้

3) กฎแห่งการรวมพล

4) กฎแห่งความยืดหยุ่น

5) กฎแห่งปัญญา

6) กฎแห่งการประสานกิจกรรม

7) กฎแห่งการติดตามผล

5 ปัจจัยหลัก สู่การเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่ง

1) เป้าหมายร่วม : สำเร็จตามลำดับขั้นร่วมกัน

2) ค่านิยมร่วม : เพื่อไปต่อร่วมกัน

3) แผนงานร่วม : 1 นาทีวางแผน ประหยัด 10 นาที ใช้แรง

4) ผู้นำในการรบ : ต่อสู้ ไม่ใช่พาทีมไปมอบตัวหรือยอมแพ้

5) การติดตามประเมินผลอยู่เสมอ

การใช้คำถามเพื่อการรบให้ชนะ 3 คำถาม

1) ทำไมผู้มุ่งหวังจึงต้องซื้อ Successmore

2) ทำไมผู้มุ่งหวังจึงต้องซื้อจากคุณ

3) คุณเป็นเลิศด้านไหน : หาซัก 1-3 ด้าน

5 คำถาม เพื่อการสร้าวความเติบโต

1) อะไรคือเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของคุณ

2) อะไรคือสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอันดับ 1,2,3

3) ผลที่ตามมาจากการทำหรือไม่ทำ / สิ่งดังกล่าวคืออะไร

4) อะไรฉุดรั้งคุณเอาไว้ จากการลงมือทำสิ่งดังกล่าว

5) ทำไมถึงทำ? ทำอย่างไร?

4 คำถามสำหรับการติดตาม เพื่อรบให้ชนะ

1) เราทำได้ดีเพียงใด

2) มีอะไรที่เราต้องปรับเปลี่ยนบ้าง

3) สิ่งใดที่เราจำเป็นต้องพัฒนาให้ดีขึ้น

4) ค่านิยม เป้าหมาย แผนงาน สอดคล้องกันหรือไม่

“ชีวิตคุณจะสูงขึ้นไป จนถึงระดับความรับผิดชอบ ที่คุณเต็มใจยอมรับ”

Heart at Work and People (หัวใจอยู่ที่งานและผู้คน)

4 ระดับพลังงานขับเคลื่อนความสำเร็จ 

1) วิสัยทัศน์
  • อนาคตขององค์กร และคนในองค์กร จะออกมาในรูปแบบไหน
  • บ่งชี้การทำงานเพื่อการมีอนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีต
  • ท่อลำเลียงที่จะส่งเป้าประสงค์ และความคาดหวังของคุณไปสู่ลูกทีม
  • องค์กรและผู้คน รู้ว่าสมควรจะมุ่งหน้าไปทางไหน
2) ภารกิจ
  • กำหนดความสนใจ และความเข้มข้นในทุกสิ่งที่คุณและทีมสนใจ
  • ช่วยให้คุณ และลูกทีมยังอยู่บนเส้นทาง
  • การดำรงคงอยู่ของลูกทีม ขึ้นอยู่กับความเข้าใจทั้งคำพูด และความหมายของรายการภารกิจ
3) จุดมุ่งหมาย
  • เงิน ครอบครัว ลูกทีม ชุมชน สังคม เกียรติยศ และความต้องการ 5 ขั้นของมาสโลว์
  • เป็นแรงบันดาลใจขับเคลื่อนการกระทำ
4) เนื้องาน
  • ตัวก่อเกิดผลงาน
  • การสร้างความเป็นรูปธรรม
  • การปฏิสัมพันธ์กับตลาด

6 ระดับชั้น ของพลังแห่งการมุ่งมั่น

ชั้นที่ 1) พฤติกรรม เช่น การรักษาคำพูด ความมีวินัย
ชั้นที่ 2) ความคิดและความรู้สึก เช่น การคิดบวก ความใจสู้
ชั้นที่ 3) ทัศนคติ มีอยู่สองแบบ คือ ลบ และ บวก
ชั้นที่ 4) ความเชื่อ มีอยู่สองแบบ คือ ส่งเสริม และ เหนี่ยวรั้ง
ชั้นที่ 5) คุณค่า คำที่เราคุ้นคือ “ค่านิยม” ของตัวเราว่าเราเป็นคนแบบไหน เช่น ยอมแพ้ง่ายไม่อดทน หรือ เรียนรู้พัฒนาคน
ชั้นที่ 6) ความภาคภูมิใจในตัวเอง (ลึกที่สุด และส่งเสริมกันขั้นต่อขั้น)

รู้จักคลังทักษะ และคุณสมบัติของตัวเอง

ทักษะของคุณ vs คุณสมบัติด้านบวกของคุณ
ทักษะของคุณ : การนำเสนอธุรกิจ และการขายสินค้า, การโทรนัดหมาย, การติดตาม, การตอบข้อโต้แย้ง, ทักษะการโค้ชชิ่ง, การเอ๊กซเรย์องค์กร, การจัดประชุม, การทำอาฟเตอร์มีทติ้ง และอื่นๆ
คุณสมบัติด้านบวก : กฎของการมีสุข มีความหงุดหงิดได้ยาก คิดบวก ไม่ย่อท้อ ทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี สู้ แก้ปัญหายากๆได้ ขยันแบบฉลาด และอื่นๆ ยิ่งมีมากข้อยิ่งส่งเสริมตัวคุณ

5 องค์ประกอบพื้นฐานของการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ

  1. กำหนดผลลัพธ์ที่คุณต้องการจะประสบความสำเร็จที่แน่นอน และชัดเจน
  2. สร้างแผนงานที่เมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้บรรลุเป้าได้ (พิมพ์เขียวองค์กร วิธีซึ่งให้ได้มาซึ่งพีวีในโครงสร้างที่ออกแบบ เนื้องานแค่ไหนในแต่ละวัน)
  3. สร้างแรงจูงใจภายในที่จำเป็นในการลงมือทำงาน (ซึ่งจะทำให้เอาชนะอุปสรรคปัญหาได้) ถ้ามีแต่แรงจูงใจภายนอก จะทำให้ยอมแพ้เร็ว ดังนั้น ต้องเข้าสัมมนา WHY จะทำให้ค้นหาแรงจูงใจภายในได้
  4. สร้างความเชื่อมั่นกับความมั่นใจให้คุณ และสมาชิกในทีมเพื่อทำให้ทุกคนสามารถทำงานในระดับที่ดีที่สุดได้ (ไปให้สุดความสามารถ ความสามารถของเราจะถูกอัพเกรดขึ้น ทั้งการพัฒนาตน การออกไปทำงาน และการโค้ชชิ่งทีม)
  5. ค่อยๆสร้างความมุ่งมั่น เพื่อทีมจะได้ไม่ท้อถอย เมื่อต้องเผชิญปัญหา หรือ อุปสรรคต่างๆ

5 เหตุผลที่ทำให้คุณล้มเหลว

  1. ขาดความมุ่งมั่น และถอนตัวไปก่อน
  2. ขาดความเชื่อมั่นอย่างเข้มข้นว่า พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จตามที่ปรารถนาได้
  3. ไม่ได้รับการกระตุ้นให้ลงมือปฏิบัติ
  4. ขาดแผนงานและไม่เข้าใจว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะประสบความสำเร็จ
  5. ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่ต้องการได้มา นั้นคืออะไร

3 องค์ประกอบสำคัญพื้นฐานสู่การเป็นผู้นำ “ผู้ได้ใจคน”

  1. มีจุดยืนที่มั่นคง (ชัดเจน ไม่ใช่ย้ายค่ายบ่อย ชวนทีมงานไปเรื่อยๆ จะเริ่มมีคนตามน้อยลง)
  2. หัวใจแห่งผู้รับใช้ ที่มีคุณภาพ ไม่ใช่มีแต่ปริมาณ (ไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง เอาความสำเร็จดาวไลน์มาก่อน จะได้ใจผู้คน และได้ความร่วมแรงร่วมใจ)
  3. ความเอาใจใส่ในตัวผู้อื่น (ถามไถ่ เป็นห่วงเป็นใย ไม่ใช่คุยแต่เรื่องพีวีเรื่องธุรกิจ)
ซึ่งถ้ามีสามเรื่องนี้ จะทำให้เกิด “ไว้วางใจ ร่วมแรงร่วมใจ ความภักดี” ซึ่งคู่แข่งจะมองไม่ออก คิดว่าเป็นแต่เรื่องสินค้า และบริการเท่านั้น

พันธมิตร 3 ระดับ

  1. ระดับทัศนคติ : ดาวไลน์รู้สึกดีกับคุณ และคุณก็รู้สึกดีกับดาวไลน์
  2. ระดับของความเชื่อ : เชื่อมั่นในตัวอัพไลน์ เพราะอัพไลน์ทำอะไรแล้วได้ผล จะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้น
  3. ระดับของการยอมรับร่วมกัน : ได้ใจกัน ดาวไลน์ยอมรับอัพไลน์ และอัพไลน์ก็ยอมรับดาวไลน์ จะไม่มีซักวินาทีที่คิดถึงเรื่องบั่นทอนพลัง ต้องคิดถึงด้านของความละเอียดอ่อนบางด้านที่ขาดหายไป ซึ่งมนุษย์จะเก็บมาคิด เหมือนแก้วที่มันร้าวยากที่จะต่อติดยาก
“จงสร้างโบสถ์วิหาร อย่าคิดว่าเราก่ออิฐ”