O2O – Online To Offline / Offline To Online

สำหรับคนที่อยู่ในวงการการตลาด คงจะเคยได้ยินคำว่า O2O มาซักพักแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินคำนี้ ตอนนี้ มันกำลังจะมีนิยามใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก

นิยามเก่า O2O – Online To Offline หรือ จากออนไลน์สู่ออฟไลน์

อาลีบาบา (Alibaba) ในจีน

  • นำร่องร้านสะดวกซื้อไฮเทค Alibaba เปิดทดลองร้าน Tao Café ที่เมืองหางโจว (คล้ายกับร้าน Amazon Go ในสหรัฐฯ) โดยเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่ใช้พนักงาน เพียงแต่สแกนบาร์โค้ดใน App ของ Taobao ตรงทางเข้า สามารถเดินเลือกซื้อของได้ตามสะดวก หยิบของที่ต้องการครบแล้วก็เดินออกจากร้านได้เลย ส่วนเงินก็จะหักจาก App ในมือถือโดยอัตโนมัติ

FROM MADE IN CHINA TO SELLING IN CHINA: THE INNOVATIONS THAT TRANSFORMED CHINA INTO THE PLATFORM FOR ECOMMERCE – NextUnicorn

  • พลิกโฉมห้างสรรพสินค้า Alibaba สร้างห้างสรรพสินค้าชื่อ More Mall ขนาด 5 ชั้น บนพื้นที่ 40,000 ตร.ม. ที่เมืองหางโจว  ห้างสรรพสินค้า More Mall สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลผู้บริโภคมหาศาลของ Alibaba ทำให้รู้ว่าสินค้าออนไลน์ใดที่ได้รับความนิยม เพื่อเลือกนำมาจัดเป็นโชว์รูมให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง และได้ลองสินค้า ส่วนการสั่งซื้อและจ่ายเงินสามารถทำในโลกออนไลน์ นอกจากนั้น มีข่าวว่า Alibaba จะนำเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งใหม่ๆ เช่น ห้องลองเสื้อเสมือนจริงที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Reality

อะมาซอน (Amazon) ในสหรัฐอเมริกา

  • พลิกโฉมซูเปอร์มาร์เก็ต Amazon อเมริกา (ที่ไม่ใช่คาเฟ่อะเมซอนที่คนไทยรู้จักดี) ได้เข้าซื้อกิจการ Whole Foods Market เชนซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าสูงถึง 13,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ Amazon ได้พัฒนาธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการร้าน และเชื่อมต่อการให้บริการออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน แนวทางหนึ่งคือการพัฒนาบริการ Amazon Fresh บริการสั่งซื้อสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตและอาหารสดออนไลน์ ในอนาคต Amazon Fresh สามารถใช้ Whole Foods Market ที่มีสาขาทั้วประเทศ 466 แห่ง เป็นจุดที่ลูกค้ามารับสินค้าที่สั่งออนไลน์ รวมทั้งเป็นจุดกระจายสินค้าเพื่อจัดส่งสินค้าไปยังที่พักอาศัยของลูกค้าได้อีกด้วย
  • พลิกโฉมร้านหนังสือ ปัจจุบัน Amazon ได้เปิดตัวร้านหนังสือไปแล้ว 15 สาขา หนังสือที่อยู่ในร้านทั้งหมดจะต้องได้รีวิวเฉลี่ย 4 ดาวขึ้นไปในเว็บ Amazon นอกจากนั้น ยังนำข้อมูลลูกค้าออนไลน์ของ Amazon มาใช้จัดโซนหนังสือ เช่น “หนังสือที่ผู้อ่าน Kindle อ่านจบในสามวัน” หรือ “ถ้าคุณชอบเล่มนั้น คุณจะชอบเล่มนี้” เป็นต้น ลูกค้าที่เป็นสมาชิก Amazon ยังสามารถใช้ App สแกนหนังสือเพื่อดูว่าจะได้ส่วนลดเท่าไรIT: เปิดตัว Amazon Go ร้านสะดวกซื้อไร้แคชเชียร์ไม่ต้องต่อคิวจ่ายเงิน! (คลิป)
  • นำร่องร้านสะดวกซื้อไฮเทค เช่นเดียวกับร้าน Tao Café ของ Alibaba ที่จีน Amazon ได้เปิดตัวร้าน สะดวกซื้อไฮเทคชื่อ Amazon Go ขึ้นที่เมืองซีแอตเทิล ลูกค้าสามารถสแกนสินค้าผ่าน App เมื่อหยิบของที่ต้องการครบแล้ว ก็เดินออกจากร้านได้เลย ส่วนเงินก็จะหักจาก App ในมือถือโดยอัตโนมัติ

นิยามใหม่ O2O – Offline To Online หรือ จากออฟไลน์สู่ออนไลน์

ช่วงที่ผ่านมาการค้าขายผ่านร้านค้าออฟไลน์ในทุกๆที่ ถูกผู้บริโภค Gen Y ซึ่งเกิดช่วงปี 2523-2543 เมิน เพราะไม่สามารถสู้ราคาและความสะดวกของอีคอมเมิร์ซได้ จนต้องพากันปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนคุณอาจจะมองว่าจุดจบของธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์มาถึงแล้ว แต่ตอนนี้กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Gen Z กลับมาซื้อสินค้าผ่านตลาดออฟไลน์มากขึ้น ทำให้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อครองใจเหล่า Gen Z

       ที่ผมจะพูดการตลาดแบบนี้ก็เพราะ ชาว Gen Z มีพฤติกรรมที่ชอบหาข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์ แต่จะซื้อในแบบออฟไลน์มากกว่า เนื่องจากพวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก บวกกับพฤติกรรมของ Gen Z ที่ชอบการเดินห้างเป็นพิเศษ ทำให้ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าต่าง ๆ จะศึกษา และหาข้อมูลสิ่งที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ตก่อน จนมั่นใจว่าสินค้า และบริการที่ตัดสินใจซื้อนั้นดีจริง อาจจะดูแบบไซซ์ไว้ก่อน แต่สุดท้ายก็ชอบที่จะไปลองด้วยตัวเองมากกว่า

และจากข้อมูลพบว่า Gen Z นิยมซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย จากช่องทางออฟไลน์ถึง 52% รวมทั้งในกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางถึง 70% ที่มีการซื้อผ่านออฟไลน์ พอจะเห็นไหมครับ ว่าห้างสรรพสินค้า ร้านของแบรนด์ต่างๆ ไปจนถึงตลาดนัดทั่วไป เป็นแหล่งที่นักช้อป Gen Z ไว้วางใจและไปจับจ่าย แต่ถึงอย่างนั้นการให้ข้อมูลหรือการโปรโมทสินค้าต่างๆ บนโลกออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ Gen Z เลือกที่จะหาข้อมูลและเชื่อก่อน ทั้งหมดนี้จึงทำให้เกิด การตลาดแบบ O2O ขึ้นนั่นเอง

O2O คือ

กลยุทธการตลาดแบบ O2O

   1.เชื่อมต่อทั้งสองช่องทางอย่างลงตัว 

แน่นอนที่สุดว่า การทำให้ช่องทางออฟไลน์กับออนไลน์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องสำคัญของการปรับใช้ โมเดลธุรกิจ O2O หากเน้นออฟไลน์มากเกินไป คนที่รู้จักเราจะอยู่ในวงแคบเท่านั้น แต่ถ้าหากเน้นออนไลน์มากเกินไปจนบางทีเราลืมให้ความสำคัญกับหน้าร้านหรือออฟไลน์ ความน่าเชื่อถือของเราก็จะลดน้อยลง ดังนั้น เราควรจะปรับให้ทั้งสองไปด้วยกันได้อย่างเหมาะสมแค่นี้ธุรกิจเราก็ปัง ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน

   2.หน้าร้านเป็นจุดสำคัญ 

อย่างที่บอกว่า O2O คือ การรวมกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ ดังนั้น    หน้าร้านจึงเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจให้กับลูกค้า และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ พนักงานร้านต้องคอยให้ข้อมูลแนะนำลูกค้าตลอดจนการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยอีกทางหนึ่ง

   3.สื่อโซเชียลและแพลตฟอร์มสร้างตัวตน

การสร้างตัวตนให้คนรู้จักเรามากขึ้นจากที่รู้จักในบางพื้นที่ก็จะรู้จักไปทุกพื้นที่ เราก็ต้องอาศัยสื่อโซเชียลในการเคลื่อนไหวเรื่องราวต่างๆ ที่เราอยากบอกต่อ แนะนำ หรือพูดคุยกับลูกค้า และอีกตัวสำคัญคือการสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มของตัวเองบนโลกออนไลน์ อาจจะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว เฟซบุ๊คแฟนเพจ หรือไลน์แอด ก็จะช่วยสร้างให้เรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

   4.SEO ช่วยค้นหา

SEO เป็นการทำการตลาดผ่านคีย์เวิร์ดที่จะช่วยให้ลูกค้าค้นหาเราได้ง่ายขึ้นจากการทำกิจกรรม หรือ การโปรโมทต่างๆ ผ่าน Google search เพราะอย่างที่ผมได้บอกไปว่ากลุ่ม Gen Z มักจะหาข้อมูลก่อนซื้อสินค้าอยู่ ทำให้ผมคิดว่า การทำให้เขาเห็นได้ง่ายๆก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเลย

   5. Virtual Online Festival

เมื่อใช้กลยุทธ์ O2O กับงานแสดงสินค้า หรือ นิทรรศการ ส่วนใหญ่ผู้จัดงานนิยมใช้ไลฟ์สตรีมมิ่ง (Live Streming) เป็นตัวช่วยหลัก เพราะลูกค้าจะได้เห็นสินค้าเสมือนอยู่ในงานจริง ๆ นอกจากนี้ ผู้จัดงานอาจใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ จัดแสดงสินค้าหรือบริการและเพิ่มช่องทางให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าถึงสินค้าหรือบริการนั้น เช่น Art Basel ในฮ่องกงที่มี Online Viewing Room เป็นแกลเลอรี่เสมือนจริงรับชมผ่านระบบออนไลน์ ผู้ซื้อบัตรเข้าชมแกเลอรี่สามารถเลือกซื้องานศิลปะที่สนใจได้ผ่านเว็บไซต์ของงาน

Virtual Meeting Space (VMS) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดงาน รวมถึงเพิ่มทักษะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการไมซ์ในภาวะวิกฤตโควิด-19

หรือยกตัวอย่างบริษัท นู สกิน (Nu Skin) ที่จัดกิจกรรม Virtual Expo หรือ เอ็กซ์โปเสมือนจริง ทั้งรูปแบบการจัดระดับนานาชาติ หรือในแต่ละประเทศที่ นู สกิน ไปเปิดสาขาอยู่ เช่นในประเทศไทยเป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ลดการรวมคน ซึ่งอาจเป็นโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อ Covid19 ของลูกค้า ตัวแทน และพนักงาน แต่ยังคงช่วยเพิ่ม brand awardness และกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี

Virtual EXPO

ดังนั้น สำหรับผมแล้ว O2O ในโลกยุคปัจจุบัน คือ การผสานกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์อย่างลงตัว ไม่มีธุรกิจออนไลน์ 100% หรือ ออฟไลน์ 100% ที่จะอยู่รอดในโลกปัจจุบันได้อีกแล้ว ทั้งสองกลยุทธนี้ ต้องไปด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม)

สนใจเข้าร่วมสัมมนา Digital Business Platform >> คลิ๊กที่นี่เพื่อลงทะเบียน

(เครดิต ที่มาข้อมูล : mice intelligence & innovation, egg digital, ktndevelop, marketingoops, the101, adsidea)

อยากเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ สตาร์ทอัพ

หลัง โควิด (Covid-19) การปรับตัวของ Entrepreneur เพื่อไปต่อ

หลังมาตรการผ่อนปรน COVID-19 หลายองค์กรได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจมีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ความท้าทายสำหรับเจ้าของธุรกิจอย่างการนำพาองค์กร Transform เพื่อไปต่อ และก้าวข้ามวิกฤตการณ์ โควิด-19 เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจอย่างแท้จริงนับเป็นโจทย์ที่ท้าทาย

สำหรับมาตรการรับมือกับการปลดล็อคในเฟส 2 นี้ มีปัจจัยหลักที่ต้องเตรียมการณ์ในฐานะเจ้าของธุรกิจหลายส่วน

1. การรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด -19 ด้วยเครื่องมือออนไลน์ (ONLINE)
 การนำสื่อดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน: ทั้งการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และการเทรนทีมงานเพื่อให้การทำงาน และถ่ายทอดความรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริง นับเป็นสิ่งจำเป็นเร่งรัด ทีมงานจำเป็นต้องอัพเดทความรู้ความสามารถ และทักษะให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อพัฒนาและตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุดที่สุด
 มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัย: ในฐานะผู้ประกอบการ บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขอนามัย และความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน เป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการเข้ารับบริการและปฏิบัติงาน บริษัทฯ มีการให้บริการเจลแอลกอฮอล์ ตามจุดต่างๆ ณ บริเวณทางเข้าสาขา และหน้าเคาเตอร์ พร้อมกับมีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดภายในสาขาตามรอบความถี่ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

2. การดูแลจุดสัมผัสลูกค้าทุกๆ จุด (Customer Touchpoints)
Touchpoint นับเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์สำคัญของ Brand Experience และเป็นส่วนหนึ่งของ Customer Journey เพื่อหาจุดสำคัญในการสร้างประสบการณ์พิชิตใจลูกค้า การสร้างความรู้สึกดีกับแบรนด์ให้ถูกที่ ถูกเวลา (Touchpoint) เป็นหัวใจหลัก เพราะประสบการณ์ตรง สร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่า ในแง่ของบริษัทฯ ควรให้ความสำคัญกับทุกจุดสัมผัสลูกค้าในทุกๆ จุด ไม่ว่าจะเป็นการที่ลูกค้าเข้ามาติดต่อที่สาขา การให้บริการของพนักงาน ทั้งการพูดจา และใบหน้าที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส ความละเอียดอ่อน เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ และต้องมีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

3. เริ่มต้นขับเคลื่อนองค์กรเหมือนเปิดบริษัทใหม่ (Everyday is Day 1)
ด้วยการมองทุกมุม ทุกมิติ ต้องมีหลักในการมองว่าปัจจัยการแข่งขันในชั่วโมงนี้แข่งขันด้วยอะไรบ้าง เพราะบางครั้งแค่สินค้าดี ราคาโดนอาจไม่พอ เจ้าของธุรกิจต้องรู้ใจลูกค้า และเสิรฟทันเวลาด้วย ต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน และประเมินว่าปัจจัยการแข่งขันตรงกับความสามารถที่เรามีหรือไม่ ถ้าไม่เราต้องปรับและเพิ่มศักยภาพของเราให้แข็งแรงเพื่อไปต่อ! จนเพร้อมที่จะสามารถแข่งขันได้ ทั้งในส่วนของผู้บริหาร และทีมงาน

4. การบริหารการเปลี่ยนแปลง
บางครั้งการยึดติดกับกรอบและแบบแผนเดิมๆ ทำให้บริษัทฯ ยากในการไปต่อ ยกตัวอย่างในเรื่องของเทคโนโลยี และเรื่องของบุคลากร 2 เรื่องหลักที่ผู้บริหารต้องรู้ จึงจะสามารถจัดการและบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิผล รวมทั้งการเรียนรู้ ปรับตัว ปรับองค์กร ปรับมายด์เซ็ททีมงาน และอัพเกรดความรู้ให้ทันกับยุคสมัย รวมถึงการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ โดยเฉพาะโมเดลแบบออนไลน์ที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันด้วย

5. เคลื่อน Value ของแบรนด์ให้สูงขึ้น
หนึ่งในกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มของแบรนด์ คือ การสร้างเอกลักษณ์สินค้า การใส่เรื่องราวความสำคัญ คุณค่าของสินค้าและบริการ ความเชี่ยวชาญของผู้บริหารและทีมงานให้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ โดยการตลาดยุคก่อนจะใช้วิธีการโปรโมทโดยการหยิบยก Functional Value หรือคุณค่าในการใช้งานเป็นหลัก และพัฒนามาเป็นการสื่อสารโดยใช้ Emotional Value หรือการนำเรื่องราวคุณค่าทางอารมณ์ขึ้นมาชูเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขึ้นไปอีกก้าว ทว่าการตลาดในยุคนี้ต้องเหนือขึ้นไปอีกขั้น ในขั้นที่เรียกว่า Spiritual Value ที่สื่อลึกถึงระดับจิตวิญญาณ ในขั้นนี้ไม่ได้พูดถึงแค่ product ว่าทำอะไร แต่เป็นคุณค่าที่สะท้อนถึงความเชื่อ ความศรัทธาของทีมงาน ขององค์กร ว่าคุณค่าที่แท้จริงของแบรนด์คืออะไร แบรนด์ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคม ช่วยยกระดับประเทศชาติให้ทัดเทียมกับนานาประเทศได้อย่างไร

เคล็ดลับสร้างพลังใจ ปลุกไฟให้กับทีมงานก้าวข้ามผ่านภาวะวิกฤต
เจ้าของธุรกิจต้องวางแผนรับมือเพื่อให้สามารถสอดรับประสานกันกับทุกส่วนงาน สถานการณ์ โควิด-19 ก็เหมือนกับสถานการณ์อื่นๆ ที่ต้องมีวันสิ้นสุด ซึ่งหากมองการณ์ไกลและวิเคราะห์สถานการณ์ได้ถูก เพื่อเตรียมแผนในการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสการขายและดำเนินต่อไปได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้แรงขับเคลื่อนในการไปต่อหนีไม่พ้นทีมงานที่เป็นกำลังสำคัญขององค์กร บริษัทฯ จึงควรเตรียมความพร้อมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีมงาน โดย

1) ยกระดับมุมมองของบทบาทในงานของพนักงาน: เพื่อให้พนักงานมีมุมมองที่มี value สูงขึ้น ไม่ใช่การทำงานให้จบไปวันๆ

พนักงานต้องมีพลังจากภายใน รู้ meaning ของบทบาทที่ทำอยู่ บทบาทในที่นี้มีความหมายด้วยกัน 3 ระดับ คือ
– ระดับที่ 1: ทำงานเพื่อแลกกับเงิน หรือการทำงานแบบทำไปเรื่อยๆ ไร้ทิศทาง ไม่ Proactive
– ระดับที่ 2: ทำงานแบบมืออาชีพ มีการวางแผนงานแบบ Long-term มีระเบียบแบบแผน สร้างผลลัพธ์ให้เป็นที่ประจักษ์
– ระดับที่ 3: ทำงานแบบทำพันธกิจ คือ การทำงานเบบพันธสัญญา สร้างสังคมใหม่ ส่งมอบคุณค่าให้กับผู้คน เพื่อนำพาชีวิตของเขาเหล่านั้นไปสู่วิถีใหม่ที่ดียิ่งขึ้น

พนักงานจำเป็นต้องมีเป้าหมายในการทำงาน เพราะถ้าขาดเป้าหมายแล้ว จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ และไม่เข้าใจถึงคุณค่าของงานที่ตนได้ส่งมอบ ในฐานะเจ้าของกิจการ เราต้องคอย refill หรือเติมไฟ เติมกำลังใจให้กับทีมงานเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้น

2) พลังแห่งความเป็นเรา
เจ้าของธุรกิจควรพูดคุย สื่อสารกับพนักงานอยู่เสมอ เมื่อบริษัทฯ เจอผลกระทบ ต้องมีการสื่อสารกับพนักงานอย่างใกล้ชิด
อยู่กันด้วยความรัก ความเข้าใจ และการแบ่งปัน เราสื่อสารกับพนักงานถึงความจริงใจขององค์กร

3) การจัดทีมย่อยเพื่อสร้างผลงาน
เปิดโอกาสให้ทีมงานได้โชว์ศักยภาพ และแสดงผลงาน เช่น รวมกลุ่มย่อยจากพนักงานทุกแผนก 5 คน ให้ตั้งทีมทำงานแบบ Cross Functional Team ร่วมกัน เพื่อนำเสนอไอเดียที่เป็นประโยชน์กับองค์กร โดยจะนำไอเดียที่ Impact ที่สุดของทีมที่ถูกคัดเลือกมาใช้เป็นแคมเปญ Kick Off และมีการติดตาม ประเมินผลกันทุกเดือน

4) Mindset เรื่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การสร้างคน เช่น การนำแนวคิดหรือวิธีใหม่ๆ มาแชร์ให้ทีมงานฟัง และนำไปประยุกต์ใช้ พร้อมๆ ไปกับการต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น เพราะบางครั้งถ้าเรายึดติดกับวิธีทำงานแบบเดิมๆ แล้วไม่เวิร์ค เราต้องไว และปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า และตลาด

5) ใช้ชีวิตด้วยกระบวนการสมดุล 4Q
การพัฒนาภาวะสมดุลทั้ง 4 ให้บาลานซ์กันในการทำงาน ทั้ง
– IQ พัฒนาสติปัญญา ฟังยูทูป อ่านหนังสือในเรื่องที่เป็นประโยชน์
– PQ ร่างกาย ออกกำลังกายให้แข็งแรง เพื่อให้มีพลัง
– EQ การควบคุมตนเอง การเชื่อมต่อกับคนอื่น ควบคุมตนเองได้ อย่าทำให้เสียภาวะความเป็นผู้นำ และ
– SQ ด้านจิตวิญญาณ ทำเพื่อคนอื่น ยิ่งให้ยิ่งได้รับกลับ และชีวิตจะเจริญขึ้น

การสร้าง Mindset แห่งความโชคดี
โชคดีสร้างได้ เพียงคุณมี 10 กฏเหล็กนี้

1) คนโชคดีมีเป้าหมายที่ชัดเจน
คนประสบความสำเร็จต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน จุดมุ่งหมายที่จดจ่อ

2) รู้ว่าอะไรสำคัญสำหรับเรา

3) รู้จักความสามารถของตนเอง

4) เรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเราอย่างต่อเนื่อง Life Long Learning

5) การสร้างนิเวศน์วิทยาที่ดีทั้งภายใน และภายนอกตัวเรา
– ชีวิตที่มีนิเวศน์ภายนอกที่ไม่ดี เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี อยู่กับคนคิดลบ เราต้องดึงตนเองออกมา อยู่กับคนคิดบวก อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน เช่น การจัดระเบียบออฟฟิศ ให้หาของง่าย ไม่ใช่ใช้ระบบ ‘ซุกกิ้ง System’ หรือ ‘คุ้ยซิ่ง Circle’ ที่ซุกกองเอกสารไว้ กว่าจะได้เริ่มต้นทำงานก็หมดเวลาไปกับการควานหาเอกสาร
– นิเวศน์ภายใน เช่น เรื่องของมายด์เซ็ท เช่น growth/ fix mindset ถ้าเราคิดว่าเราไม่คู่ควร ก็จะยากต่อการไปต่อ เพราะสมองที่เต็มไปด้วยเรื่องลบ จะทำให้ท้อแท้ หมดกำลังใจ และถอดใจไปได้ง่ายๆ

6) การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับโอกาสที่มีมาอยู่ตลอด

7) ตัดสินใจเป็นต้นเหตุแห่งการสร้างผล อย่ารอผลแต่จงรีบเริ่มลงมือทำ และวาสนาจะมาเอง ในมุมของคนทำงาน เราจำเป็นต้องพัฒนาตน โชว์ผลงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าตา เพื่อ support เจ้านายเรา ให้เจ้านายขาดเราไม่ได้ ถ้าทำเช่นนี้แล้ว ผลที่ดีนั้นต้องเป็นของเราอย่างแน่นอน และเราก็จะกลายเป็นคนโชคดี เพราะมีทางเดิน – ทางเลือกในชีวิตเยอะ สรุปคือ เราต้องทำสิ่งที่ทำให้ดี ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายของเรา

8) การก้าวออกจาก Comfort Zone ให้ได้ ต้องกล้าที่จะก้าวข้ามพื้นที่ Comfort Zone ออกมา พื้นที่ข้างนอกนี้เท่านั้น ที่จะทำให้เรามีโอกาสเติบโต เช่น การกล้ารับงานที่ท้าทายขึ้น แรกๆ อาจจะกลัว (เป็น Fear Zone) แต่ถ้าเราทำไปสักพัก เราจะเริ่มควบคุมความกลัวได้ เริ่มคุ้นเคย (Learning Zone) ส่งผลให้เรามีพื้นที่ที่เราสบายใจกว้างขึ้น

เหมือนตอนหัดขับรถใหม่ๆ ถ้าเรามัวแต่กลัวจะไม่ได้ทำ ไม่ได้ขับสักที ฉะนั้นการลงมือทำทั้งๆ ที่ยังกลัว จะทำให้เราเรียนรู้ และออกจากพื้นที่ Comfort Zone ของเรา เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นได้

9) ทำงานหนักอย่างฉลาด คนทำงานหนัก ต้องฉลาดทำงาน และทำให้ถูกเรื่องด้วย
มีวิสัยทัศน์ที่ดี รู้ Trend ตลาด ออกอาวุธทางการตลาดได้ถูกจุด พัฒนาความสามารถและการประเมิน คุณภาพชีวิตขึ้นอยู่กับคุณภาพการตั้งคำถาม หมายถึงความโชคดีของเราขึ้นอยู่กับคุณภาพคำถามที่เราถามในวันนี้

โชคดีจะไม่เกิดกับคนที่ไม่ทำอะไรเลย ถ้าเราใช้สมองมากขึ้น เราจะใช้แขน ขาน้อยลง เราต้องรู้ว่าต้องทุ่มความพยายามไปที่จุดไหน อย่าเรียกร้องความสำเร็จเร็วเกินไป ให้เก็บเกี่ยวผลลัพธ์ พร้อมใส่ความเชื่อว่าฉันทำได้ และใส่แรงจูงใจ เชื่อว่าทำได้

10) จงตื่นตัวมีชีวิตชีวา สดชื่น มีความหวังอยู่เสมอ การตื่นตัวอยู่ตลอด จะทำให้เรามีชีวิตชีวา เราจะถ่ายเทความกระตือรือร้นไปให้กับทีมงานได้ ให้ทีมงานได้ตื่นตัวไปกับเราด้วย คิดดี คิดบวก คิดถึงความเป็นไปได้ ให้ระวังคำพูดที่สื่อสารกับตัวเอง จินตนาการภาพชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ลุคขึ้นมาแอคชั่น มาลงมือทำในสิ่งที่ส่งเสริมตัวเรา จนเรากลายเป็นคนโชดดีในที่สุด

ขอฝากความหวัง ความกล้า ความเชื่อ และความเชื่อมั่น ในกับทุกท่าน
New Normal หลังวิกฤตโควิด -19 ธุรกิจต้องเดินหน้า เราต้องไปต่อ ต้องมีความหวัง ความเชื่อว่าฉันนี่ละทำได้ ใช้ความกล้าในการลงมือทำ ว่าเราเชื่อมั่น พร้อมปลุกพลังของคนในองค์กร เพื่อนำมาให้ทุกๆ ท่านบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

 

สนใจสัมมนาธุรกิจออนไลน์ ฟรี คลิ๊ก https://www.youngrich.net/registration/

(อ้างอิงเนื้อหาจาก CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร SmartSME)

ทำไมพวกเขาถึงเลือก New Normal – Digital Business Platform

  • คุณตฤณ วิชัยดิษฐ
  • จิราวรรณ วิชัยดิษฐ
  • วันเพ็ญ สมพลทวีกุล
  • ดลฤทัย อัครรัตน์พรกุล

สนใจได้รับข้อมูลเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่เพื่อเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ ฟรี

Read More